เดอะไทยแลนด์เดอร์สได้มีโอกาสได้สัมภาษณ์ คุณผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ และกนิช บุณยัษฐิติ ทายาทผู้สืบต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์รุ่นสู่รุ่นมาอย่างสง่างามกว่า 150 ปีของบ้านบุณยัษฐิติ นำไปสู่การเดินทางของเส้นทางทางภูมิปัญญาแด่คนรุ่นหลังที่จะชวนให้หลงใหลในเสน่ห์แห่งริมน้ำจันทบูร
เดอะไทยแลนด์เดอร์ส : ความเป็นมาของบ้านบุณยัษฐิติในอดีตก่อนที่จะมาเป็นบุณยัษฐิติวิลล่าในปัจจุบัน
คุณผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ : บ้านบุณยัษฐิติ เป็นบ้านของตระกูลบุณยัษฐิติ สร้างโดย หลวงอนุรักษ์พานิช ตั้งอยู่ที่ชุมชนริมน้ำจันทบูร ชุมชนเก่าแก่ของจังหวัดจันทบุรี สันนิษฐานจากผู้ที่อยู่อาศัยในบ้าน สถาปัตยกรรม พระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5 ซึ่งกล่าวถึงบ้านหลังนี้ และ รูปถ่ายโบราณ คาดว่าบ้านหลังนี้มีอายุกว่า 150 ปี
บ้านบุณยัษฐิติตกทอดมาในตระกูลบุณยัษฐิติ 6 ชั่วอายุคน ได้แก่ หลวงอนุรักษ์พานิช (บุตร นายบุญคง ต้นตระกูล บุณยัษฐิติ) หลวงเสนาราชภักดีศรีสงคราม (อดีตเจ้าเมืองขลุง), หลวงสำราญนฤปกิจ (อดีตปลัดจังหวัดพิษณุโลก), หลวงประกอบนิติสาร (อดีตผู้พิพากษา ทนายความ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ วุฒิสมาชิก), นายโกวิท บุณยัษฐิติ (อดีตที่ปรึกษากฎหมาย และ วุฒิสมาชิก) และ นายกนิช บุณยัษฐิติ เจ้าของบ้านคนปัจจุบัน
ในอดีต นอกจากจะเป็นบ้านพักอาศัยของคนในตระกูลบุณยัษฐิติแล้ว บ้านบุณยัษฐิติยังถูกใช้เป็นสถานที่ต้อนรับผู้หลักผู้ใหญ่ที่มาจันทบุรี และยังปรากฎในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมาจังหวัดจันทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2419
เดอะไทยแลนด์เดอร์ส : แม้ว่าเวลาจะผ่านมายาวนานกว่า 150 ปีแล้ว แต่โครงสร้างของบ้านบุณยัษฐิติยังคงเค้าโครงเดิมอยู่ กรุณาเล่าถึงการบูรณะบ้านให้มีสภาพดั้งเดิม
คุณกนิช บุณยัษฐิติ : โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของ บ้านบุณยัษฐิติ เป็นลักษณะใช้ผนังรับน้ำหนัก ด้วยอายุของบ้านและสถานที่ตั้งริมแม่น้ำซึ่งมีดินอ่อน ทำให้โครงสร้างทรุดโทรม หลักการซ่อมแซมและบูรณะคือใส่ฐานรากสมัยใหม่เข้าไปในโครงสร้างโบราณ โดยการลงเสาเข็มเหล็กเต็มพื้นบ้านแล้วผูกเหล็กเทปูนบนเสาเข็มเหล็กเพื่อทำเป็นฐานรากใหม่ของอาคาร จากนั้นกรีดผนังและเสาบ้านเดิมเพื่อนำเหล็กตัวทีที่วางบนฐานรากใหม่ซ่อนไว้ในผนังและเสาเพื่อใช้ประคองตัวบ้านและรับถ่ายน้ำหนักพื้นอาคารชั้น 2, ชั้น 3 และ หลังคาบ้านให้มาลงน้ำหนักในเสาเหล็กและฐานรากสมัยใหม่ทั้งหมด ปลดภาระการรับน้ำหนักของผนังโบราณออก นอกจากนั้นการฉาบปูนก็ทำด้วยเทคนิคโบราณโดยฉาบปูนหมักและขัดด้วยปูนตำซึ่งต้องใช้ช่างฝีมือพิเศษจากอยุธยาและเพชรบุรี
ส่วนรูปแบบหลังคาของเรือนริมแม่น้ำซึ่งเคยมีการดัดแปลงเป็นหลังคาหน้าจั่ว แต่ได้พบหลักฐานภาพถ่ายโบราณจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติปรากฏว่าหลังคาดั้งเดิมเป็นหลังคาปั้นหยาจึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบหลังคาให้กลับเหมือนในอดีต ในส่วนของอาคารจีนฝั่งติดถนนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาโดยพบเศษกระเบื้องเดิมที่ยังคงค้างอยู่ในโครงหลังคาปูน จึงได้นำตัวอย่างกระเบื้องเดิมไปให้โรงงานผลิตกระเบื้องเด่นจันทน์ที่จันทบุรีเป็นตัวอย่างผลิตด้วยมือขึ้นมาใหม่
ส่วนงานไม้พื้น ผนัง ราวระเบียง ขื่อ คาน ใช้ไม้เดิมซึ่งเป็นไม้สักและยังอยู่ในสภาพที่ดีเป็นส่วนใหญ่เพียงแต่ขัดและทาน้ำยารักษาเนื้อไม้เท่านั้น มีการจัดการกั้น วางตำแหน่งห้องใหม่ และก่อสร้างห้องน้ำเพิ่มเติมเพื่อรองรับการใช้สอยในปัจจุบันซึ่งทำเป็นโรงแรมขนาดเล็กและร้านกาแฟ แต่ส่วนใหญ่ยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมไว้
เดอะไทยแลนด์เดอร์ส : บุณยัษฐิติวิลล่า มีความโดดเด่นอย่างไร
คุณกนิช บุณยัษฐิติ: บ้านบุณยัษฐิติ เป็นบ้านในรูปแบบจีนผสมผสานกับสถาปัตยกรรมตะวันตกและไทยหลังเดียวที่ยังคงเหลืออยู่ในชุมชนริมน้ำจันทบูร เรือนริมถนนเป็นสถาปัตยกรรมจีนก่ออิฐฉาบปูน หลังคามุงกระเบื้อง ภายในมี 3 ชั้น ชั้นที่ 2 เป็นที่ตั้งของแท่นและป้ายบูชาบรรพบุรุษแบบจีน ชั้นที่ 3 มีโครงหลังคาแบบจีนที่งดงาม ราวระเบียงและช่องลมต่าง ๆ เป็นเหล็กหล่อแบบฝรั่ง เรือนริมแม่น้ำจันทบุรี ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน ส่วนชั้นบนเป็นพื้นและผนังไม้ มีช่องลมไม้ฉลุ หลังคาปั้นหยามุงกระเบื้องดินเผา มีเชิงชายคาสังกะสีตัดเป็นลวดลายอ่อนช้อย ระหว่างเรือนจีนริมถนนกับเรือนริมน้ำถูกคั่นด้วยลานหรือคอร์ทกลางบ้านสำหรับรับแดดและน้ำฝนตามสถาปัตยกรรมจีน
เดอะไทยแลนด์เดอร์ส : บุณยัษฐิติวิลล่า มีการตกแต่งภายในด้วยสถาปัตยกรรมแบบใด และแต่ละห้องของบุณยัษฐิติวิลล่า มีความสำคัญในอดีตที่เชื่อมโยงมาถึงปัจจุบันอย่างไร
คุณผกาภรณ์ บุณยัษฐิติ: แนวคิดในการตกแต่งบุณยัษฐิติวิลล่า ยึดหลักการคำนึงถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคาร กับ การใช้ชีวิตของครอบครัวบุณยัษฐิติและคนในชุมชนริมน้ำจันทบูรในสมัยก่อน โดยปรับให้เข้ากับการใช้ประโยชน์อาคารในปัจจุบันซึ่งคำนึงถึงความสะดวกสบายและความสวยงามร่วมสมัย งานตกแต่งภายในเป็นผลงานของมัณฑนากรมากความสามารถ คือ คุณพาหกิตติ์ ตรีมาส และ คุณอิทธิพร วงศ์มณีโรจน์
ในส่วนของอาคารจีน เน้นเครื่องเรือนเครื่องตกแต่งแบบจีนดั้งเดิมและร่วมสมัย มีส่วนต้อนรับของโรงแรม พื้นที่แสดงนิทรรศการ “ฟื้นชีวิตบ้านทรงจีน” แสดงถึงโครงการปรับปรุงบูรณะบ้าน มีพื้นที่นั่งพักผ่อน ชั้น 2 นิทรรศการ “จาก บุญคง สู่ บุณยัษฐิติ” เป็นที่ตั้งของแท่นและป้ายบูชาต้นตระกูลบุณยัษฐิติแบบจีน นิทรรศการสาแหรกและประวัติบรรพบุรุษ ชั้น 3 นิทรรศการ “กาลานุกรมจันทบูร” นิทรรศการแสดงเส้นประวัติศาสตร์ของจังหวัดจันทบุรี เปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และ ของโลก ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงรัชกาลปัจจุบัน โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์เผ่าทอง ทองเจือ
ในส่วนของอาคารริมแม่น้ำ ชั้นล่างจัดสรรให้เป็นพื้นที่ร้านกาแฟ ซึ่งเจ้าของโครงการคัดเลือกและกำหนดว่าต้องเป็นกิจการของชาวจันทบุรี คือส่วนของร้านกาแฟ “ ชงดี ” ที่มีทั้งส่วนภายในอาคารซึ่งตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์จีนประยุกต์ผสมกับเฟอร์นิเจอร์หวายสบายๆ ผนังร้านกาแฟมีภาพเขียนบนผนังโดยศิลปินชาวจันทบุรี เป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ ต้นเงาะที่มีกล้วยไม้เหลืองจันท์และนกนางแอ่นท้องส้มเกาะอยู่ โดยมองเห็นเขาสระบาปอยู่ด้านหลัง และส่วนระเบียงไม้ริมคุ้งแม่น้ำสามารถมองเห็นเขาสระบาปและโบสถ์ฝรั่งฝั่งตรงข้าม รวมทั้งสามารถมองเห็นเจดีย์สีทองเหลืองอร่ามของวัดโบสถ์
มีห้องพักของโรงแรมหนึ่งห้องที่ชั้นล่างชื่อ “ห้องตลาดล่าง” เนื่องจากที่ตั้งของบ้านบุณยัษฐิติอยู่บริเวณตลาดล่างซึ่งชุมชนจับจ่ายซื้อของสดและอาหาร ตู้เสื้อผ้าในห้องจำลองมาจากตู้กับข้าว มีรูปถ่ายวิถีชีวิตในตลาดเป็นรูปขาวดำเหนือหัวเตียง
มีห้องพักอีก 1 ห้องอยู่ฝั่งอาคารทรงจีนชื่อ “ห้องกำปั่นจีน” เป็นห้องพักห้องเดียวที่อยู่ในส่วนของอาคารจีน จุดเด่นของห้องนี้คือ ขื่อ คานหลังคาไม้แบบจีนที่สวยงาม มีกำปั่นเหล็กโบราณแบบจีนตั้งอยู่ในห้อง เฟอร์นิเจอร์เป็นสไตล์จีนประยุกต์ มีรูปวาดสีน้ำมันสาวในชุดจีนสีแดงสดประดับเหนือหัวเตียง
ลานกลางบ้านแบบจีน ตั้งภูเขาหินอ่อนแกะสลักลวดลายสี่ฤดูอยู่กลางลานเพื่อเป็นจุดบังสายตามิให้มองทะลุผ่านประตูจากถนนไปถึงแม่น้ำตามหลักฮวงจุ้ยแบบจีน มีสวนแนวตั้งเพื่อให้เกิดความร่มรื่น
เดอะไทยแลนด์เดอร์ส : บุณยัษฐิติวิลล่า มีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูวิถีชีวิตของชุมชนริมน้ำจันทบูรให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง อยากให้บอกเล่าถึงการพัฒนาที่ทำให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คุณกนิช บุณยัษฐิติ: โครงการปรับปรุงและฟื้นฟูบ้านบุณยัษฐิติ ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนริมน้ำจันทบูรอย่างดียิ่ง โดยมีสถาบันอาศรมศิลป์ให้ความช่วยเหลือด้านงานสถาปัตยกรรมและการบูรณะอาคารโบราณอย่างถูกหลักวิธี เจตนารมย์ของครอบครัวบุณยัษฐิติในการฟื้นฟูบ้านบุณยัษฐิติก็เพื่อ 2 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรก คือ การแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ รักษาบ้านของตระกูลให้ดำรงคงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ส่วนที่สอง คือ การทำประโยชน์ให้ชุมชน เพราะนอกจากการอนุรักษ์และฟื้นฟูอาคารเก่าให้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งทำให้ชุมชนมีหมุดหมายสำหรับการท่องเที่ยวเพิ่มเติมขึ้นแล้ว การจัดส่วนหนึ่งของอาคารจีนให้เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับการอนุรักษ์อาคารโบราณ ประวัติของตระกูลบุณยัษฐิติ และ ประวัติศาสตร์ของจันทบุรี รวมถึงหลักการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นผู้ประกอบกิจการในพื้นที่อาคารซึ่งต้องเป็นคนในพื้นที่จันทบุรีก็จะเป็นประโยชน์และช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนโดยรวม
Interview
By Porntida Salapan
The Thailanders had the opportunity to interview Khun Pakaporn Punyashthiti and Khun Kanich Punyashthiti, The heirs who have gracefully inherited the historical values of Punyashthiti for more than 150 years. Leading to a journey of wisdom for new generations that will fascinate with the charm of the Chanthaboon riverside.
The Thailanders : The history of Punyashthiti House in the past to becoming Punyashthiti Villa in the present.
Khun Pakaporn Punyashthiti : Punyashthiti Villa, the ancestral home of the Punyashthiti family, was built by Luang Anurakpanich and is located in the riverside community of Chanthaburi. Based on its design, King Rama V’s diary of his visit to Chanthaburi, old photographs, and its residents, it is estimated that the house is over 150 years old.
For six generations, the Punyashthiti family has owned the Punyashthiti House, starting with Luang Anurakpanich, the son of Mr. Boonkong, who is the family’s ancestor. This ownership continued through Luang Senarachapakdi Srisongkram, the former governor of Klung, Luang Samrannarupakij, the former Pitsanulok provincial secretary, Luang Prakob Nitisarn, the former judge, lawyer, member of parliament and senator, Mr. Kovit Punyashthiti, the former legal advisor and senator, and finally, to Mr. Kanich Punyashthiti, the current owner.
The Punyashthiti House has not only been a residence for the Punyashthiti family but has also been frequently used to host important guests who visit the Chanthaburi Province. It was also mentioned in King Chulalongkorn (Rama V)’s diary when he visited Chanthaburi in1876.
The Thailanders : Although more than 150 years have passed, the structure of Punyashthiti house still retains its original. Please tell us about renovating the house.
Khun Kanich Punyashthiti : Punyashthiti Villa was built using a wall bearing structure and, due to its age and location on a soft riverbank, suffered significant damage. To repair and renovate the structure, a modern substructure was constructed within the existing old structure. Steel piles were used to create a modern foundation throughout the ground, while steel columns were added to strengthen the integrity of the old wall and support the weight of the second and third floors and the roof structure. This released the old wall from the load it had previously borne. The wall plastering was done using an ancient technique using fermented mortar, and the walls were subsequently polished with pound mortar. Skilled artisans from Ayutthaya and Phetchaburi were required for this task.
During the renovation project, it was discovered that the original design for the roof structure of the riverside building had been altered. Fortunately, an old photograph was found in the national archive, which allowed for the roof to be changed to its original design. Original roof tiles of Chinese style road side building were also found and sent to the Denchan tile manufacturer in Chanthaburi to hand-make the roof tiles for the renovation project.
The woodwork, including the floors, walls, rails, and beams, is made of teak and was in good condition, only requiring polishing. A new room layout and the construction of bathrooms were added to accommodate the new function as a small boutique hotel and café. However, the majority of the architectural form and style have been well preserved.
The Thailanders : what is outstanding of Punyashthiti Villa ?
Khun Kanich Punyashthiti : Punyashthiti Villa is a unique building in the Chanthaboon riverside community, as it is the only surviving building that incorporates a mix of Chinese, Western, and Thai architectural styles.
The three-story roadside building features Chinese-style architecture. The second floor contains a Chinese-style ancestor altar, while the third floor has beautiful Chinese-style beams. Western-style cast iron rails and ventilation voids have also been installed.
The riverside building has a brick wall for the first floor and a wooden floor and wall for the second floor. It boasts decorative details such as perforated wooden vents and carved tin-decorated eaves. In between the Chinese-style roadside building and the riverside building, there is a Chinese-style courtyard designed to receive sunlight and rainwater.
The Thailanders : What kind of architectural interiors are there ? and each room of Punyashthiti Villa How is the significance of the past to the present ?
Khun Pakaporn Punyashthiti : The interior decoration concept of Punyashthiti Villa is carefully designed to consider the architectural style of the building, the way of life of the Punyashthiti family and the Chanthaboon riverside community in the past, and the present function of the building. The interior design was accomplished by skilled designers, Mr. Pahakit Trimas and Mr. Itthiporn Wongmaneeroj.
The interior of the Chinese-style building emphasizes traditional and contemporary Chinese furniture. The hotel reception desk, an exhibition on the renovation project, and a sofa set are some of the highlights on the ground floor. On the second floor, there is an exhibition dedicated to the Punyashthiti family, while on the third floor, there is a chronology exhibition on Chanthaburi’s history, comparing it with that of Thailand and the world, from prehistoric times to the present. The chronology exhibition was done by Ajarn Paothong Thongchua.
In the riverside building, the ground floor is allocated for a café called ” Chong Dee ” The café indoor section is decorated with contemporary Chinese-style furniture and comfortable rattan furniture. A local artist has created a wall mural, which includes several symbols of Chanthaburi, such as the rambutan tree, Chanthaburi yellow orchid, local birds, and mountains. The outdoor wooden balcony by the river overlooks both a Christian church and a Buddhist temple with a golden pagoda.
There is one hotel room on the ground floor called “The Market Room” due to the villa’s location in the local market area. The closet resembles a food cabinet commonly found in old Thai kitchens, and a photo of life in the local market decorates the bed headboard.
“On the second floor of the riverside building, there are three rooms, all of which have a riverside balcony. “The Heritage Room” is dedicated to Punyashthiti’s ancestors, four of whom received the title of “Luang,” a title bestowed by the king. The furniture in this room is replicas of the original furniture. “The Mat Room” showcases Chanthaburi’s famous quality papyrus mat, with a papyrus floor mat and closet as well as a photo of materials used in mat making. “The Card Room” features Thai card playing, which was a favorite local pastime in the past.
Adjacent to the Chinese building, there is a room called “The Trunk Room,” which is the only room in the area of the Chinese building. The highlight of this room is the beautiful Chinese-style wooden beams. An antique Chinese iron trunk is also present in the room. The furniture style is Chinese contemporary, and an oil painting of a lady in a red Chinese dress decorates the room.
In the central courtyard, there is a carved marble that represents a mountain with the four seasons. The sculpture serves the purpose of improving the house’s “feng shui.”
The Thailanders : The important role in restoring the way of life of the Chanthaboon riverside community to be lively again. Please tell us about to participate in sustainable development.
Khun Kanich Punyashthiti : The Punyashthiti Villa renovation project was strongly supported by the Chanthaboon riverside community. The Arsomsilp Institute provided significant support for the proper renovation of the old building and the architecture design.
The Punyashthiti family had two objectives in embarking on the project. Firstly, to pay homage to their ancestors by preserving and maintaining the ancestral house. Secondly, to contribute to the community. By reviving and preserving an old building, they created another attraction for tourists. Exhibitions on the renovation project, Punyashthiti family, and Chanthaburi history, as well as the criteria that operators in the property must be locals, shall benefit and strengthen the local community.