“วงจรธุรกิจห้องเสื้อ หรือ fashion house นั้น ประกอบไปด้วยการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ควบคู่ไปกับการรังสรรค์ผลงานต้นแบบให้มีความสดใหม่เข้ากระแสความนิยมของยุคสมัย และนั่นก็เป็นกลไกเดียวกันที่ขับเคลื่อนวิวัฒนาการของศิลปะนิยมทางการแต่งกายหรือที่เรารู้จักกันดีนำว่า ‘แฟชัน’ ดังจะเห็นได้ตลอดเวลาว่าจะมีบางสิ่งจากอดีตมาปรากฏอยู่ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งที่ Dior เองก็เป็นเช่นนั้น ในคอลเลกชันนี้ เราต้องการมองย้อนกลับไปยังกระบวนการสร้างสรรค์ ซึ่งสืบสานความต่อเนื่องหลังมรณกรรมของมร.ดิออร์ และการรื้อฟื้นผลงานต้นแบบมารังสรรค์ใหม่ด้วยฝีมือของมร.แซงต์ โลรองต์ ทายาทที่คริสเตียน ดิออร์เลือกเองมากับมือ พร้อมกับอาศัยจินตนาการ และแนวคิดวรรณกรรมชิ้นเอก The Waste Land (“แผ่นดินที่สิ้นสูญ” กวีนิพนธ์ผลงานประพันธ์โดยที.เอส. อีเลียต มหากวีแห่งศตวรรษที่ 20 ตีพิมพ์ครั้งแรกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1922) และนี่คือจุดบรรจบระหว่างโลกใบเก่ากับโลกใบใหม่ ที่มีทั้งการไหลบ่า และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม” คิม โจนส์
เธมส์กับเซนส์ ต่างเป็นแม่น้ำสายประวัติศาสตร์ เต็มไปด้วยเรื่องราวทางการเปลี่ยนแปลงอย่างตต่อเนื่องมานับแต่บรรพกาล ร่องรอยเล่าขานถึงการสร้างสรรค์ และรังสรรค์บนกระแสธารรที่ไหลรินจากชนบทสู่มหานครจนออกท้องทะเลนั้น ปรากฏทั้งสิ่งที่แตกต่าง และคล้ายคลึงกันอยู่ตลอดเวลา สายน้ำอันถือเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอารยธรรมของกรุงลอนดอน และมหานครปารีสทั้งสองนี้ มีทั้งสิ่งที่เหมือนกัน และขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง อย่างง่ายที่สุดเท่าที่สายตาเรามองเห็นนั่นก็คือ บางช่วงของน้ำสายช่างกระจ่างใส ในขณะที่บางช่วงกลับขุ่นมัว หรือดำมืด ความหมายแฝงแห่งสองสายธารนี้ ได้สร้างแรงบันดาลใจให้งานประพันธ์ของที.เอส. อีเลียต และงานออกแบบของคิม โจนส์ ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ประจำแผนก Dior Men
ไม่ต่างอะไรจากวิถีคู่ขนานระหว่างชีวิตปัจจุบันกับประวัติศาสตร์วรรณกรรม การอยู่ร่วมกันระหว่างทัศนียภาพโบราณสถานอันกว้างไกล กับทิวทัศน์มหานครทันสมัย เรื่องราวต่างยุค ต่างเวลา ถูกนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน กระแสธารของสองลำน้ำจากสองมหานครสำคัญของโลกที่ไหลวนเวียนอย่างต่อเนื่องราวกับสะท้อนถึงสิ่งต่างๆ อันบังเกิดขึ้นในโลกศิลปะนิยมของการแต่งกาย อันรวมถึงคอลเลกชันประจำฤดูหนาว ซึ่งเต็มไปด้วยการวนเวียนเปลี่ยนผันจากเก่าสู่ใหม่ ให้ความสบายยามสวมใส่ เคลื่อนไหวได้คล่องตัว โดยอาศัยเส้นโครงสร้างมิติทรงที่ต่อเนื่อง พลิ้วไหวเป็นพื้นฐานสำคัญทางการออกแบบ อีกทั้งยังสะท้อนถึงแนวคิดพลวัตนิยมของมร.อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ ผู้ก้าวเข้ามารั้งตำแหน่งนักออกแบบแทนมร.ดิออร์ด้วยวัยเพียง 21 ปีจนได้รับการยกย่องให้เป็นนักออกแบบแฟชันชั้นสูงผู้มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์
เมื่อ 65 ปีก่อน ในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1958 อีฟส์ แซงต์ โลรองต์ได้นำเสนอผลงานเสื้อผ้าชั้นสูงคอลเลกชันแรกที่เขาออกแบบให้แก่ห้องเสื้อ Dior เท่านั้น โลกแฟชันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ขึ้นอีกครั้ง และคอลเลกชันประจำฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูร้อน 1958 นั้นเอง ที่กลายเป็นแหล่งกำเนิดแรงบันดาลใจสำคัญให้กับงานสรรค์สร้างคอลเลกชันประจำฤดูหนาวของคิม โจนส์ในรูปแบบเครื่องแต่งกายชายที่หยิบยกมรดกสำคัญทางประวัติศาสตร์ของ Dior มาใช้ นั่นก็คือการนำวัสดุสิ่งทอสำหรับตัดเย็บเครื่องแต่งกายสตรีมารังสรรค์เป็นเสื้อผ้าบุรุษ รวมถึงการนำวัสดุ และแบบแผนการตัดเย็บสูทอังกฤษมาหลอมรวมกับศิลปะการตัดเย็บของห้องเสื้อชั้นสูงฝรั่งเศส
ไม่ต่างอะไรจากการไหลบ่าทางวัฒนธรรม อันนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยน และผสมผสาน ผลงานหลอมรวมโครงสร้างที่อำนวยต่อการเคลื่อนไหวเข้ากับความทันสมัยในงานออกแบบ อันคำนึงถึงความสะดวกง่ายดายทางการสวมใส่ และใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ปรากฏเป็นความหลากหลายของตัวเลือกจากเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อน จากเครื่องแต่งกายพิธีการไปจนถึงเสื้อผ้าสไตล์ลำลอง อีกทั้งยังบ่งบอกถึงบุคลิกเฉพาะตัวของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี
ในขณะที่มิติทรงดูอ่อนโยนด้วยการใช้เส้นโค้งกับสัณฐานกลมกลึง คำนึงถึงการทิ้งตัวพลิ้วไหวไร้น้ำหนัก กระนั้นกลับดูเป็นงานลูกผสม เอื้อต่อการพลิกแพลง หรือดัดแปลงวิธีสวมใส่ ไม่ว่าจะใช้สวมแบบปรกติตามมาตรฐานสากล หรือใช้ลูกเล่นเฉพาะตัวให้เป็นไปตามมุมมองผู้เป็นเจ้าของ เหนืออื่นใดก็คือ ความเป็นธรรมชาติ ซึ่งอาศัยความประณีต พิถีพิถันด้านการตัดเย็บ เพื่อให้คอลเลกชันที่ดูซับซ้อนย้อนแย้งปราศจากรายละเอียดย้อนแย้งแห่งความซับซ้อน
ในหลายครั้ง กับหลายยุคหลายสมัยที่เสื้อผ้ามากมายถูกหยิบยกออกาจากผลงานรุ่นต้นแบบในแผนกจัดเก็บผลงานชิ้นสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยตรง เพื่อทำการรังสรรค์ และดัดแปลงเติมความสดใหม่ อย่างเสื้อกลาสี Marine (มารีน) ของมร.แซงต์ โลรองต์ ได้ถูกปรับทรงที่เคยกระชับ เข้ารูป ให้คลายตัวหลวมด้วยการใช้ผ้าทอลายสองสำหรับตัดเย็บเครื่องแบบทหารม้า (cavalry twill) อีกทั้งยังยืนความยาว ให้ดูสะโอดสะองตามมิติทรงชุดสวมกันเปื้อนของชาวประมง ในขณะที่โครงสร้างการตัดเย็บชุดเปิดไหล่เข้ารูปของผลงานต้นแบบนาม Acacias (อากาเซีย: ดอกกระถิน) ได้รับการลดตำแหน่งไหล่แขนให้ลู่ต่ำ อีกทั้งยังตัดเย็บด้วยผ้าวูล หรือผ้าทอใยขนสัตว์สำหรับชุดสูทผู้ชาย จนทำให้มิติทรงดูใหม่ และแปลกตา ส่วนเสื้อโคท Passe Partout (ปาส ปารตูต์: กุญแจผี หรือกุญแจหลัก เป็นคำเปรียบเปรยถึงคุณสมบัติในการดัดแปลงได้หลายรูปแบบ) ซึ่งแต่งปกเสื้อเป็นแถบผ้าพันคอสำหรับใช้พับทบ หรือผูกโบว์หลวม ได้เผยโฉมใหม่โดยอาศัยผ้าทวีดดาเนอกัล (Donegal tweed) เนื้อหยาบมาตัดเย็บ พร้อมเติมลูกเล่นแขนเสื้อติดซิปรูปเปิด/ปิดตลอดความยาว
แนวคิดดั้งเดิมของผ้านิตเนื้อยืด มอบความสะดวกง่ายดายในการสวมใส่ได้หลายโอกาส อีกทั้งมอบความคล่องตัวได้รูปทรงปราศจากโครงสร้าง กลับถูกหักล้างด้วยการนำลูกเล่นเหลี่ยมมุมเชิงสถาปัตย์มาใช้ร่วมกับการตัดเย็บเข้ารูปแบบชุดสูท และเพื่อเติมความครบครัน งานออกแบบใหม่สะกดสายตาของรองเท้า และรองเท้าหุ้มข้อหรือบูทพิมพ์ลาย 3 มิติกับเสื้อนอก ซึ่งดัดแปลงแบบมาจากแจ็กเก็ตเก็บอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ของนักเดินทะเล ล้วนเป็นบทพิสูจน์ไหวพริบในการพลิกแพลงทักษะความชำนาญด้านการตัดเย็บของ House of Dior ให้ได้ผลลัพธ์ร่วมสมัยอย่างที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อน ขณะเดียวกัน บรรดากระเป๋า ก็อาศัยความสง่างามจากงานออกแบบที่เรียบง่าย ร่วมกับความพิถีพิถันทางการสรรค์สร้างเป็นพื้นฐานสำคัญ พร้อมกับตัดทอนรายละเอียด หรือองค์ประกอบตกแต่งประดับประดาเพื่อเผยโครงสร้างทรงกล่องจาก Vernis (แวรนีส์: น้ำมันชักเงา หรือสีเคลือบเงา) ผลงานต้นแบบที่มร. แซงต์ โลรองต์ออกแบบขึ้นโดยใช้ความเรียบง่ายสื่อถึงกระแสนิยมยุคใหม่ในสมัยนั้น
DIOR WINTER 2023-2024
“The cycle of a fashion house is about regeneration and rejuvenation, just like the cycle of fashion itself. There is always something of the past in the present and future and Dior is no different. In this collection, we wanted to look at the regeneration of the house after the death of Mr Dior, and its rejuvenation with Mr Saint Laurent – his chosen heir – drawing a parallel in literature, through imagery and themes in The Waste Land. It’s where an old world meets a new one, in change and in flux.” Kim Jones
The Thames and the Seine: the ancient flow of history and mutability through their regenerating and rejuvenating waters; a movement from country to city to sea that is always different and always the same. The great rivers of London and Paris, with their connotations and contrasts, their light and murk, serve as both literary motifs for T. S. Eliot and living inspiration for Kim Jones, the Artistic Director of Dior Men. In this living and literary history, spanning ancient landscapes and modern cityscapes, periods of time conflate. Here, the eddies and flows of the water reflect those of fashion, including the Winter collection where flux, movement, ease and fluidity are central. It is also a reflection of the dynamism sought by Mr Yves Saint Laurent with his ascent to the helm of Dior at the age of 21 – the youngest couturier in history.
65 years ago, on the 30th of January 1958, Yves Saint Laurent presented his debut collection for Dior and the fashion world was changed once more. It is this Spring-Summer ’58 collection that is mainly drawn upon for Jones’ Winter offering, the men’s histories intertwining with a melding of the masculine and feminine, with British tailoring traditions and materials meeting that of the haute couture tailleur. Infusing all is a sense of movement, modernity, practicality and ease, a streamlining from excess towards an amalgam of the formal and the casual in individual garments. Silhouettes are softened, curved and malleable while clothes are hybridised and metamorphosed, worn in individual ways with the agency of the wearer. An effortlessness infuses all, belying the precision and complexity of a collection that never looks over-complicated.
At times garments are taken directly from the archive, transposed and transformed: the sailor top from Mr Saint Laurent’s ‘Marine’ ensemble is loosened in cavalry twill and also becomes an elongated fisherman’s smock; the off-the-shoulder tailoring of ‘Acacias’ adapted with slouching insouciance for masculine wool suiting, part of a new recurring silhouette and ensemble; the ‘Passe Partout’ coat with its loosely tied neck now cocoons in a new slubbed, Donegal tweed with the addition of zipped open sleeves. At the same time, the traditional vernacular language of knits is subverted through a sculptural approach to styling and draping together with a melding of tailoring. In counterpoint, startlingly new pieces such as 3D printed shoes and boots, and archetypal sea-faring utilitarian outerwear extend the reach of the house’s savoir-faire to an unprecedented contemporary level. Meanwhile, bags primarily take on an idea of discretion, elegance and precision, stripped of extraneous elements with a box construction in Vernis – an echo of Mr Saint Laurent’s striving for modern simplification.