แนวทางใหม่ในการสื่อถึงความรู้สึก และอารมณ์ต่างๆ ที่เรามีต่อประเทศใด ประเทศหนึ่ง รวมถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นของดินแดนนั้นได้อย่างแยบคาย คือสิ่งซึ่งมาเรีย กราเซีย คิวริต้องการนำเสนอผ่านผลงานสร้างสรรค์คอลเลกชันประจำฤดูใบไม้ร่วง 2023 ของ Dior พร้อมกันนั้น งานออกแบบในภาพรวม ยังต้องสามารถเล่าถึงเรื่องราวการร่วมงาน, ความเกี่ยวข้องในการทำงาน ตลอดจนมิตรภาพอันดำเนินอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีระหว่างห้องเสื้อ Dior กับประเทศอินเดีย และระหว่างตัวคิวริเองกับคาริชมา สวาลิ ผู้อำนวยการห้องเย็บปักชานาเกีย (Chanakya ateliers) และโรงเรียนหัตถศิลป์ชานาเกีย (Chanakya School of Craft) ในมุมไบ นครหลวงแห่งรัฐมหาราษฏระของอินเดีย
เพราะภายในแผนกต่างๆ ของทั้งอาเตอลิเอรงานปัก และสถาบันหัตถศิลป์แห่งนี้ หาได้ต่างอะไรจากสถานที่สำหรับทำการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้, แนวทางความคิด ควบคู่ไปกับดำเนินกระบวนการศึกษาเรียนรู้ รวมถึงการแสดงฝีมือ หรือความสามารถแขนงต่างๆ ของผู้หญิงทั้งหลายได้อย่างเสรีเต็มที่ และเต็มภาคภูมิ ที่นี่จึงเป็นเสมือนห้องทดลองของการใช้ไหวพริบพลิกแพลงทักษะ ความชำนาญแขนงต่างๆ ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์คอลเลกชันสตรีของ Dior นั้นเล็งเห็น และยกย่องคุณค่าอย่างต่อเนื่องมายาวนาน เฉกเช่นที่เคยเป็นกับนักออกแบบแฟชันผู้ก่อตั้งห้องเสื้อระดับตำนานแห่งนี้นั่นเอง
ระหว่างดำเนินการศึกษา ค้นคว้าภายในแผนกจัดเก็บข้อมูล และผลงานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของ Dior (Dior archives) ได้มีการค้นพบหลักฐาน และเรื่องราวการเดินทางของมาร์ค โบฮัน (หรือมาร์ก โบอ็องตามคำอ่านฝรั่งเศส) ไปยังประเทศอินเดียเมื่อเดือนเมษายนปีค.ศ. 1962 อันประกอบไปด้วยมิติทรงเครื่องแต่งกายทั้งในมุมใบ และเดลฮีมากมายถึงหนึ่งร้อยชุดโดยประมาณ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนเชิงสัมพันธ์ครั้งสำคัญระหว่างฝรั่งเศสกับอินเดีย เพราะในสายตาของมาร์ค โบฮัน ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของ Dior ในยุคนั้น การค้นพบรูปทรงโครงสร้างเสื้อผ้าแปลกตา และแปลกใหม่เหล่านี้ นำมาซึ่งช่องทางใหม่ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าอีกระดับวัยที่อ่อนเยาว์ กระฉับกระเฉง เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง เป็นการนำแนวคิดร่วมสมัยมาใช้กับงานออกแบบแฟชัน ทั้งในส่วนของแผนกห้องเสื้อชั้นสูง และแผนกเสื้อผ้าสำเร็จรูป
จากข้อมูลที่ได้ค้นพบดังกล่าวเหล่านั้น มาเรีย กราเซีย คิวริได้เลือกเฉดสี และวัสดุต่างๆ โดยได้รับแรงบันดาลใจ และอิทธิพลจากการทำงานร่วมกับคาริชมา สวาลิ จากนั้น กระบวนการทำงานกับบรรดารูปทรงเสื้อผ้า ซึ่งสามารถสวมใส่ได้ทุกยุคสมัยโดยไม่อิงกระแสแฟชัน ก็อำนวยให้คิวริได้นำงานต้นแบบที่เธอชื่นชอบหลายชิ้นมารังสรรค์ขึ้นใหม่ร่วมกับการเลือก และจัดกลุ่มสีให้มีความเหมาะสมกับเนื้อสัมผัสของผ้าไหม ไม่ว่าจะเป็นหลากเฉดของสีเขียว, เหลือง, ชมพู และม่วง ต่างล้วนเป็นบทรำลึกถึงไหวพริบความเป็นเลิศของมาร์ค โบฮัน โดยมาปรากฏอย่างภูมิฐานอยู่บนมิติทรงโครงสร้างชุดของโคทกลางคืนตัวยาว, กระโปรงทรงตรง หรือกระโปรงผ้าทิ้ง ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากส่าหรี และงานตัดเย็บเครื่องแต่งกายแบบอินเดียตามธรรมเนียมดั้งเดิม รวมถึงกางเกงขาตรง, แจ็คเก็ตเอวลอยหรือโบเลโร (bolero), เสื้อนอกหลากสไตล์ที่ใช้สวมกับเสื้อยกทรง ทั้งหมดนี้ หาได้ต่างอะไรจากวงศาวิทยาทางการตัดเย็บอันผสมผสานขึ้นจากความหลากหลายทางมรดก และวัฒนธรรมแฟชันต่างขั้ว
ในคอลเลกชันนี้ งานปักเป็นทั้งหัวข้อสำคัญ และความหมายแก่นแท้ของการศึกษาวิจัย เปิดหนทางเป็นไปได้นานับประการในการพัฒนางานฝีมือจนกลายเป็นกลไกยกย่องคุณค่าความหลากหลายทางภูมิทัศน์ของประเทศอินเดียภายใต้การร่วมงานอย่างใกล้ชิดระหว่าง Dior กับ Chanakya ateliers รวมถึงโรงเรียนหัตถศิลป์ Chanakya School of Craft ลายปัก และงานปักที่ปรากฏ จึงเป็นเสมือนเวทีระดม และยกย่องความเป็นเลิศเชิงเทคนิคต่างๆ ในกระบวนการทำงานของโรงเรียน อีกทั้งยังกลายเป็นหนทางของการสืบทอดพลังทางความคิดประดิษฐกรรม และมรดกงานฝีมือของผู้หญิงจากรุ่นสู่รุ่นในท้ายที่สุด
รูปทรงเรขาคณิตรองรับประกายระยิบระยับวับวาวของเลื่อมเงิน และทอง รวมถึงแก้วดีบอก ในขณะที่งานประดับลวดลายหลากสีสันสดใสกับผ้าทอลายจิตรกรรมหรือตวล เธอ ฌูย์ (toile de Jouy) โดดเด่นสะดุดตาจากงานออกแบบองค์ประกอบศิลป์จำลองทิวทัศน์ต่างๆ ในอินเดีย ส่วนลายดอกไม้ “สวนอินเดีย” หรือ Jardin Indien floral (ฌาร์แด็ง แอ็งเดียง ฟลอราล) ถูกนำมาเติมความตระการตาให้กับผ้าไหมที่ใช้ตัดเย็บชุดทรงปิจามา, เสื้อเชิต และเดรส หรือชุดเสื้อ-กระโปรงติดกัน
กระบวนการพัฒนาคอลเลกชันนี้ ดำเนินขึ้นเฉกเช่นบทสนทนา หรือการพูดคุยโต้ตอบอันดำเนินขึ้นระหว่างการร่วมงานของผู้หญิงสองคนจากสองขั้ววัฒนธรรมเพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้หญิงในระดับสากล โดยอาศัยความเลิศในเชิงไหวพริบพลิกแพลงทักษะงานฝีมือแขนงต่างๆ มาสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมผ่านความซับซ้อนของงานปักสามมิติจำลองทัศนียภาพภูมิประเทศส่วนต่างๆ ของอินเดีย แต่ละผลงาน และทุกชิ้นงานจึงราวกับถูกถักทอขึ้นจากมรดกต่างๆ ทางพหุวัฒนธรรมอย่างวิจิตรบรรจง
DIOR’S WOMEN FALL 23 COLLECTION
Finding a new ingenious way of talking about feelings and emotions that can connect us with a country and its culture is precisely what Maria Grazia Chiuri wished to accomplish in this Dior Fall 2023 collection, with a view to explaining the collaboration, work relations and friendship linking her for many years to India and Karishma Swali, who directs the Chanakya ateliers and the Chanakya School of Craft, in Mumbai. A place of exchange, study, and emancipation for many women; a laboratory to explore different types of savoir-faire that the Creative Director of Dior women’s lines has long celebrated, highlighting thus the visionary spirit of the founding-couturier.
The Dior archives reveal Marc Bohan traveling to India, in April 1962, to unveil a hundred or so silhouettes in Mumbai and Delhi, a turning point of a conversation between France and India. For Marc Bohan, these presentations were charitable events, relating a new departure under his artistic direction: younger customers, and a more dynamic, contemporary approach to fashion and ready-to-wear.
Maria Grazia Chiuri has chosen palettes of colors and materials that exalt influences shared with Karishma Swali. Working on timeless clothing shapes which have stayed intact through time allows Chiuri to (re)design her favorite models. A color block sequence dedicated to silks – in shades of green, yellow, pink and purple –, in homage to Marc Bohan, comes in the form of sophisticated evening coats, sari-inspired straight skirts and traditional Indian cuts, as well as pants, little boleros, jackets and brassieres: a veritable sartorial genealogy defined by different heritages and fashion cultures.
The embroidery – both protagonist and means of research, opening up all the possibilities of this craft – and becomes a tool for appraising, through the relationship between Dior and the Chanakya ateliers and also the Chanakya School of Craft, the multiple landscapes of India: this cartography mixes and spotlights the various techniques which, via the School’s work processes, become the realm of a women’s patrimony and an instrument at once of inventiveness and empowerment.
Geometric shapes frame the gold and silver sequins or strass; decorative motifs come forth in this kaleidoscope of colors and the toile de Jouy is enhanced by elements of Indian scenery; the Jardin Indien floral drawing punctuates the silk of pyjamas, shirts and dresses.
The collection evolves like a dialogue in which the collaborative dimension expresses itself more than ever, in a mutli-vocal manner and thanks to exceptional savoir-faire. Reflected in a complex piece of embroidery, it illustrates a tri-dimensional topography, moulded by the meeting and interweaving of plural cultural legacies.