การลาออกของทรูโดเปิดฉากการเมืองบทใหม่ในแคนาดา ใครจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำ

นายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ประกาศลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเขาตั้งใจจะก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคเสรีนิยมของแคนาดา เมื่อพรรคสามารถเลือกผู้นำคนใหม่ได้

“ผมตั้งใจจะลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรี หลังจากที่พรรคเลือกผู้นำคนใหม่เสร็จสิ้น” ผู้นำวัย 53 ปีกล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างการแถลงข่าวที่กรุงออตตาวาในวันจันทร์

ทรูโดยังระบุเพิ่มเติมว่า รัฐสภาแคนาดาจะระงับการประชุมจนถึงวันที่ 24 มีนาคม เพื่อให้พรรคเสรีนิยมมีเวลาในการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่

ทรูโดยังกล่าวเสริมว่าเขามี “ความเสียใจอย่างหนึ่ง” นั่นคือการไม่สามารถปฏิรูประบบการเลือกตั้งของแคนาดาได้ ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้

“ถ้าผมมีเรื่องที่เสียใจ โดยเฉพาะเมื่อเรากำลังเข้าใกล้การเลือกตั้งครั้งนี้ — จริงๆ แล้วคงมีอีกหลายเรื่องที่ผมอาจนึกออก” ทรูโดกล่าว “แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้เราได้ทำสำเร็จก็คือการเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งรัฐบาลในประเทศนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถระบุตัวเลือกที่สองหรือที่สามได้ในบัตรเลือกตั้งใบเดียวกัน”

สถานการณ์ที่นำมาถึงจุดนี้

จัสติน ทรูโด ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเสรีนิยมมา 11 ปี และนายกรัฐมนตรีมา 9 ปี เผชิญกับวิกฤตหลายด้าน ตั้งแต่การขู่เก็บภาษีศุลกากรของโดนัลด์ ทรัมป์ ไปจนถึงการลาออกของพันธมิตรสำคัญในรัฐบาล และคะแนนนิยมที่ลดลงอย่างหนัก การประกาศลาออกของเขาอาจถูกมองว่าเป็นการตัดสินใจก้าวลงก่อนที่จะถูกกดดันให้ออก โดยเฉพาะเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดไว้ในปลายปีนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่เขาจะแพ้

ทรูโดนำพรรคเสรีนิยมเข้าสู่อำนาจในปี 2015 พร้อมคำมั่นสัญญาเรื่อง “sunny ways” สำหรับแคนาดา เขาให้ความสำคัญกับประเด็นความก้าวหน้า เช่น การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในอดีตต่อชนพื้นเมือง แต่ช่วงปลายของการบริหารงานของเขากลับถูกบดบังด้วยความไม่พอใจทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น

เหตุการณ์ที่สะท้อนความไม่พอใจนี้อย่างเด่นชัด คือการเผชิญหน้ากับคนงานในอุตสาหกรรมเหล็กซึ่งกลายเป็นไวรัล คนงานคนนั้นตำหนิทรูโดว่าเขาไม่ได้แก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยกล่าวว่า “คุณไม่ได้ทำอะไรให้พวกเราเลย จัสติน” ซึ่งคำพูดดังกล่าวสะท้อนความรู้สึกไม่พอใจของชาวแคนาดาในวงกว้างได้เป็นอย่างดี

เมื่อปีที่ผ่านมา รัฐบาลทรูโดต้องเจอกับแรงกระทบอย่างรุนแรงจากการลาออกของ คริสเทีย ฟรีแลนด์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลัง ซึ่งประกาศลาออกอย่างกะทันหันเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่เธอจะต้องแถลงงบประมาณประจำปี

ในจดหมายลาออกที่สะเทือนวงการการเมือง ฟรีแลนด์วิพากษ์วิจารณ์ “กลยุทธ์การเมือง” ของทรูโด ซึ่งน่าจะหมายถึงมาตรการลดภาษีการขายชั่วคราวเป็นเวลา 2 เดือน และการแจกเงินคืน 250 ดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 175 ดอลลาร์สหรัฐ) ให้กับแรงงานส่วนใหญ่ ซึ่งถูกมองว่าเป็น “ของขวัญหาเสียง” ที่มุ่งดึงคะแนนนิยมก่อนการเลือกตั้ง

ฟรีแลนด์ระบุว่า แคนาดา “ไม่สามารถรับมือกับนโยบายเหล่านี้ได้” ซึ่งมองว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่สมเหตุสมผลในขณะที่ประเทศกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากการเรียกเก็บภาษีศุลกากรขนาดใหญ่ ที่อาจถูกบังคับใช้โดยรัฐบาลใหม่ของ โดนัลด์ ทรัมป์

โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งกำลังจะกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในวันที่ 20 มกราคม ได้ประกาศว่าจะลงนามคำสั่งบริหารกำหนดอัตราภาษีศุลกากร 25% สำหรับสินค้าที่นำเข้าทั้งหมดจากแคนาดา นอกจากนี้ ทรัมป์ยังใช้โซเชียลมีเดียเย้ยหยันทรูโดและแคนาดา โดยเรียกนายกรัฐมนตรีว่าเป็น “ผู้ว่าการรัฐแคนาดา” และประเทศว่าเป็น “รัฐที่ยิ่งใหญ่ของแคนาดา”

ก้าวต่อไปจะเป็นอย่างไร?

คณะกรรมการบริหารแห่งชาติของพรรคเสรีนิยม ซึ่งดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงผู้นำพรรค มีกำหนดการประชุมในสัปดาห์นี้ โดยอาจจะมีขึ้นหลังการประชุมของสมาชิกพรรคในรัฐสภา การระงับการประชุมรัฐสภาถูกวางแผนไว้เพื่อให้พรรคมีเวลาในการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่

ผู้ที่อาจขึ้นมาแทนทรูโด ได้แก่ มาร์ค คาร์นีย์ อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษและแคนาดา, เมลาเนี โจลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, และคริสเทีย ฟรีแลนด์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคลัง

พรรคหวังว่าการเปลี่ยนผู้นำจะช่วยฟื้นฟูความนิยมของพรรคเสรีนิยม ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 20 ตุลาคม หรือก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ ผลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดแสดงให้เห็นว่าพรรคเสรีนิยมของทรูโดตามหลังพรรคอนุรักษ์นิยมฝ่ายค้าน ที่นำโดย ปิแอร์ ปัวลิเยฟ ซึ่งเป็นผู้นำที่มีท่าทีแข็งกร้าว

ทรูโดกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า “ประเทศนี้สมควรได้รับทางเลือกที่แท้จริงในการเลือกตั้งครั้งหน้า และมันชัดเจนสำหรับผมแล้วว่าหากผมยังต้องต่อสู้กับความขัดแย้งภายใน ผมจะไม่สามารถเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกตั้งนั้นได้”

ทรูโดได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถึงสามครั้ง โดยครั้งล่าสุดในปี 2021 ซึ่งเขายังคงดำรงตำแหน่งต่อไป แต่สูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภา ตั้งแต่นั้นมา พรรคอนุรักษ์นิยมที่นำโดย ปิแอร์ ปัวลิเยฟ ก็สามารถสร้างคะแนนนำเหนือพรรคเสรีนิยมได้มากกว่า 20% ตามค่าเฉลี่ยของผลสำรวจความคิดเห็นทั่วประเทศ

ในการแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ ทรูโดกล่าวว่า วิสัยทัศน์อนุรักษ์นิยม ของปัวลิเยฟ “ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมสำหรับชาวแคนาดา”

“การหยุดต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่สมเหตุสมผล การละทิ้งค่านิยม ความแข็งแกร่ง และความหลากหลายที่แคนาดายึดมั่นมาตลอด ไม่ใช่เส้นทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศ การโจมตีสื่อมวลชนและสถาบัน CBC ไม่ใช่สิ่งที่ชาวแคนาดาต้องการในเวลานี้” ทรูโดกล่าว “สิ่งที่เราต้องการคือมุมมองที่ทะเยอทะยานและมองโลกในแง่ดีต่ออนาคต – และปิแอร์ ปัวลิเยฟไม่ได้มอบสิ่งนั้นให้”

ความคิดเห็นจากบุคคลอื่น

หลังการประกาศลาออกของทรูโดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ได้ย้ำแนวคิดเรื่องการควบรวมแคนาดาและสหรัฐเข้าด้วยกันอีกครั้ง

“มีชาวแคนาดาจำนวนมากที่รักการเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐ สหรัฐไม่สามารถแบกรับการขาดดุลการค้าและเงินอุดหนุนมหาศาลที่แคนาดาต้องพึ่งพาเพื่อความอยู่รอดได้อีกต่อไป จัสติน ทรูโดรู้เรื่องนี้ดี และนั่นคือเหตุผลที่เขาลาออก” ทรัมป์เขียนบน Truth Social

เขายังกล่าวเสริมอีกว่า “ถ้าแคนดาควบรวมกับสหรัฐฯ จะไม่มีภาษีศุลกากร ภาษีจะลดลงอย่างมาก และพวกเขาจะมีความมั่นคงอย่างสมบูรณ์จากภัยคุกคามของเรือรัสเซียและจีนที่ล้อมรอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อรวมกันแล้ว จะเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่มาก!”

ปิแอร์ ปัวลิเยฟ ผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยม ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากกลุ่มฐานเสียงของ MAGA (Make America Great Again) ในสหรัฐฯ และถูกมองว่าเป็นผู้สมัครที่มีศักยภาพสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปของแคนาดาปีนี้ ท่ามกลางการกลับมาของรัฐบาลทรัมป์ ใช้โอกาสจากการลาออกของทรูโดเพื่อเสนอทางเลือกใหม่ให้กับชาวแคนาดา

“ชาวแคนาดาสามารถควบคุมชีวิตและประเทศของพวกเขากลับคืนมาได้” ปิแอร์ ปัวลิเยฟ กล่าวในวิดีโอที่โพสต์บน X “ควบคุมพรมแดนของเราให้กลับมา ควบคุมระบบการอพยพ ควบคุมการใช้จ่าย งบขาดดุล และเงินเฟ้อให้ได้”

เขายังกล่าวเสริมว่า “เราจะจำกัดการใช้จ่าย ยกเลิกภาษีที่ไม่จำเป็น ให้รางวัลแก่การทำงาน สร้างบ้าน สนับสนุนครอบครัว หยุดอาชญากรรม เสริมความปลอดภัยของพรมแดน เพิ่มกำลังให้กองทัพ ฟื้นฟูเสรีภาพ และทำให้แคนาดาเป็นที่หนึ่ง”

คริสเทีย ฟรีแลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่อาจเข้ามาแทนที่ทรูโด และเคยกล่าวไว้เมื่อเดือนธันวาคมว่าตัวเธอกับทรูโดมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับ “เส้นทางที่ดีที่สุดสำหรับแคนาดา” ได้แสดงความขอบคุณต่อทรูโดสำหรับการทำงานที่ผ่านมา โดยเขียนในโพสต์บน X ว่า

“ฉันขอขอบคุณจัสติน ทรูโด สำหรับการทำงานรับใช้แคนาดาและชาวแคนาดามาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฉันขออวยพรให้เขาและครอบครัวพบแต่สิ่งที่ดีที่สุด”

ขณะเดียวกัน ทรูโดกล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อวันจันทร์ว่า เขาเคยหวังว่าฟรีแลนด์จะดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่เสริมว่า “เธอเลือกอย่างอื่น” โดยปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสนทนาระหว่างเขากับเธอ

 

 

Canadian Prime Minister Justin Trudeau has announced his resignation. What happens now?

Prime Minister Justin Trudeau announced his resignation on Monday, saying he intends to step down from the top job and as the leader of Canada’s ruling Liberal Party once a new party leader is chosen.

“I intend to resign as party leader, as prime minister, after the party selects its new leader,” the 53-year-old leader told reporters at a news conference in Ottawa on Monday.

Canada’s parliament will be suspended until March 24 while a new Liberal Party leader is chosen, he also said.

Trudeau added that he has “one regret” – failing to reform Canada’s election process, ahead of a general election expected this fall.

“If I have one regret, particularly as we approach this election — well, probably many regrets that I will think of,” the outgoing leader said. “But I do wish we’d been able to change the way we elect our governments in this country so that people could simply choose a second choice, or a third choice on the same ballot.”

How did we get here?

Trudeau, leader of the Liberal Party for 11 years and prime minister for nine, was facing a mounting set of crises, from Donald Trump’s tariff threats to the resignation of key allies and disastrous opinion polls. His resignation could be seen as choosing to jump before he is pushed, ahead of a general election to be held later this year that he is widely expected to lose.

Trudeau took the Liberals to power in 2015, promising “sunny ways” for Canada. He championed progressive issues like combating climate change and addressing historic abuses against Indigenous peoples, but the latter years of his premiership have been marked by rising economic discontent.

A viral confrontation with a steel worker, who criticized Trudeau for not addressing the high cost of living, captured the growing discontent among Canadians.

“You’re not really doing anything for us, Justin,” the worker remarked, highlighting a sentiment that resonated widely.

Trudeau’s government was also rocked last year by the surprise resignation of Deputy Prime Minister and Finance Minister Chrystia Freeland, just hours before she was due to deliver her annual fiscal update.

In a blistering letter of resignation, she criticized Trudeau’s “political gimmicks,” likely referring to a two-month sales tax holiday and 250 Canadian dollar ($175) rebates for most workers.

Freeland said Canada could “ill afford” these policies, seen as a pre-election handout to claw back some voters, and coming as the country faces the serious prospect of huge tariffs which could be levied by the incoming Trump administration.

US President-elect Donald Trump, set to return to the White House on January 20, has said he will sign an executive order imposing a 25% tariff on all products coming into the US from Canada. Trump has also taken to belittling Trudeau and the country of Canada on social media, referring to the prime minister as the “governor” of the “Great State of Canada.”

What comes next?

The Liberal Party national executive, which controls leadership issues, is scheduled to meet this week, likely after the caucus. Suspending parliament is designed to give the party time to choose a new leader.

Possible replacements include the former governor of both the Bank of England and Bank of Canada Mark Carney, foreign minister Mélanie Joly, and former deputy prime minister Chrystia Freeland.

The hope is that a new party leader could bring the Liberals out of their funk, before a general election set to be held on or before October 20. Current polls show Trudeau’s Liberal Party behind the opposition Conservative Party, led by the firebrand Pierre Poilievre.

“This country deserves a real choice in the next election and it has become clear to me that if I’m having to fight internal battles, I cannot be the best option in that election,” said Trudeau on Monday.

Trudeau was elected three times, most recently in 2021, when he remained in power but lost his governing majority. Since then, Poilievre’s Conservative Party has built a lead over the Liberal Party of more than 20% in national polling averages.

Trudeau told reporters on Monday that Poilievre’s conservative vision “is not the right one for Canadians.”

“Stopping the fight against climate change doesn’t make sense. Backing off on the values and strength and diversity that Canada has always, always, worked to pull itself together on is not the right path for the country. Attacking journalists, the CBC institutions, that’s not what Canadians need in this moment. We need an ambitious, optimistic view of the future – and Pierre Poilievre is not offering that,” he said.

What others are saying

Reacting to Trudeau’s resignation Monday, President-elect Trump doubled down on the idea that Canada and the US should merge.

“Many people in Canada LOVE being the 51st State. The United States can no longer suffer the massive Trade Deficits and Subsidies that Canada needs to stay afloat. Justin Trudeau knew this, and resigned,” he said on Truth Social.

“If Canada merged with the U.S., there would be no Tariffs, taxes would go way down, and they would be TOTALLY SECURE from the threat of the Russian and Chinese Ships that are constantly surrounding them. Together, what a great Nation it would be!!!” he added.

Poilievre, who has already found currency with the MAGA base, bolstering his position as a potential candidate for this year’s general election amid an incoming Trump administration, also seized on Trudeau’s resignation to make an offer to Canadian voters.

“Canadians can take back control of their lives and their country,” Poilievre said in a video post on X. “Take back control of our border. Take back control of immigration. Take back control of spending, deficits and inflation.”

“We’ll cap spending, axe taxes, reward work, build homes, uphold family, stop crime, secure borders, rearm our forces, restore our freedom and put Canada first,” he said.

And Freeland, a possible contender to replace Trudeau, who said in December that she and Trudeau had “found ourselves at odds about the best path forward for Canada,” thanked him for his service on Monday.

“I thank Justin Trudeau for his years of service to Canada and Canadians. I wish him and his family the very best,” she wrote on X.

Trudeau said at Monday’s press conference that he had hoped Freeland would continue as his deputy, “but she chose otherwise,” declining to provide more detail on their conversations.

By Paula Newton, Hanna Park, Christian Edwards and Eve Brennan, CNN