นักข่าวผู้ถูกคุมขังยาวนานที่สุดในโลก คว้ารางวัลสิทธิมนุษยชน

นักข่าวชาวเอริเทรียที่ถูกคุมขังโดยไม่ผ่านการพิจารณาคดีเป็นเวลา 23 ปี ได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชนของสวีเดนจากความมุ่งมั่นในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก

ดาวิต อิซาค ผู้ถือสองสัญชาติเอริเทรีย-สวีเดน ได้รับรางวัลเอดเดลสแตม (Edelstam Prize) จาก “ความกล้าหาญอันยอดเยี่ยม” ของเขา ตามแถลงการณ์ของมูลนิธิผู้มอบรางวัล

ดาวิตเป็นผู้ร่วมก่อตั้งหนังสือพิมพ์เซติต ซึ่งเป็นสื่ออิสระแห่งแรกของเอริเทรีย เขาถูกจับกุมในปี 2001 หลังจากที่หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์จดหมายเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตย เขาเป็นหนึ่งในกลุ่มนักการเมืองระดับสูง สมาชิกสภา และนักข่าวอิสระราว 20 คน ที่ถูกจับกุมในเหตุการณ์กวาดล้างของรัฐบาล

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลเอริเทรียไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับที่อยู่หรือสุขภาพของเขา ผู้ที่ถูกคุมขังพร้อมกับเขาหลายคนก็ถูกคาดว่าล่วงลับไปแล้ว

รางวัลเอดเดลสแตมซึ่งมอบให้กับผู้ที่มีความกล้าหาญในการปกป้องสิทธิมนุษยชน จะมีการมอบรางวัลในวันที่ 19 พฤศจิกายน ที่กรุงสตอกโฮล์ม โดยบุตรสาวของเขา เบธเลเฮม อิซาค จะเป็นผู้รับรางวัลแทน เนื่องจากเขายังคงถูกกักขังในเอริเทรีย

ผลงานของดาวิตในหนังสือพิมพ์เซติตประกอบด้วยการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล เรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตยและเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งนำไปสู่การจับกุมของเขาในช่วงที่รัฐบาลดำเนินการปราบปรามผู้เห็นต่าง

มูลนิธิเอดเดลสแตมได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวดาวิต พร้อมขอให้รัฐบาลเอริเทรียเปิดเผยที่อยู่ของเขาและให้สิทธิ์ในการมีทนาย

“ดาวิต อิซาค เป็นนักข่าวที่ถูกคุมขังยาวนานที่สุดในโลก เรากังวลอย่างยิ่งต่อสุขภาพของเขา ที่อยู่ของเขายังไม่ทราบแน่ชัด เขาไม่ได้ถูกตั้งข้อหาใด ๆ และถูกปฏิเสธการเข้าถึงครอบครัว ความช่วยเหลือทางกงสุล และสิทธิในการมีทนาย นับเป็นการบังคับให้หายสาบสูญโดยแท้” แคโรไลน์ เอดเดลสแตม ประธานคณะกรรมการตัดสินรางวัลเอดเดลสแตม กล่าว

“ความกล้าหาญที่ไม่ย่อท้อของเขาเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงหลักการของเสรีภาพในการแสดงออก”

มูลนิธิเอดเดลสแตมยังได้กระตุ้นให้ประชาคมระหว่างประเทศกดดันเอริเทรียเพื่อให้ปล่อยตัวดาวิตและสนับสนุนการปฏิรูปด้านสิทธิมนุษยชน

รางวัลเอดเดลสแตมยกย่องบุคคลที่แสดงความกล้าหาญเป็นพิเศษในการปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยมอบเพื่อระลึกถึงการทำงานของนักการทูตชาวสวีเดน ฮาราลด์ เอดเดลสแตม

เอริเทรียเป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ไม่มีสื่อเอกชน เนื่องจากปิดตัวสื่อเอกชนในปี 2001 ภายใต้ข้ออ้างด้าน “ความมั่นคงของชาติ”

ดาวิตได้ลี้ภัยไปสวีเดนในปี 1987 ระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของเอริเทรีย ก่อนจะกลับไปหลังประเทศได้รับเอกราชในปี 1993 และได้รับสัญชาติสวีเดนแล้ว ปัจจุบัน เอริเทรียยังไม่เคยจัดการเลือกตั้งตั้งแต่ประกาศอิสรภาพ และประธานาธิบดีไอเซียส อาเฟเวอร์กี ยังคงดำรงตำแหน่งมานานเกือบ 31 ปี

World’s longest detained journalist wins rights prize

A journalist detained in Eritrean prison without trial for 23 years has won a Swedish human rights prize for his commitment to freedom of expression.

Dawit Isaak, who holds dual Eritrean-Swedish citizenship, was given the Edelstam Prize “for his… exceptional courage”, the foundation behind the award said in a statement.

Dawit, who holds dual Eritrean-Swedish citizenship, was one of the founders of Setit, Eritrea’s first independent newspaper.

He was detained in 2001 after his paper published letters demanding democratic reforms.

Dawit was among a group of about two dozen individuals, including senior cabinet ministers, members of parliament and independent journalists, arrested in a government purge.

Over the years, the Eritrean government has provided no information on his whereabouts or health, and many who were jailed alongside him are presumed dead.

The Edelstam Prize, awarded for exceptional courage in defending human rights, will be presented on 19 November in Stockholm.

Dawit’s daughter, Betlehem Isaak, will accept the prize on his behalf as he remains imprisoned in Eritrea.

His work with the Setit included criticism of the government and calls for democratic reform and free expression, actions that led to his arrest in a crackdown on dissent.

The Edelstam Foundation has called for Dawit’s release, urging the Eritrean authorities to disclose his location and allow him legal representation.

“Dawit Isaak is the longest detained journalist in the world. We are very concerned about his health and his whereabouts are unknown, he is not charged with a crime, and he has been denied access to his family, consular assistance, and the right to legal counsel – effectively, it is an enforced disappearance,” said Caroline Edelstam, the chair of the Edelstam Prize jury.

His “indefatigable courage stands as a testament to the principle of freedom of expression.”

The Edelstam Foundation also urged the international community to pressure Eritrea for Dawit’s release and to advocate for human rights reforms.

The Edelstam Prize honours individuals who show exceptional bravery in defending human rights, in memory of Swedish diplomat Harald Edelstam.

Eritrea is the only African country without privately owned media, having shut down its private press in 2001 under the pretext of “national security”.

Dawit, who fled to Sweden in 1987 during Eritrea’s war for independence, returned after the country gained independence in 1993 after becoming a Swedish citizen.

There have been no elections in Eritrea since its independence, and President Isaias Afwerki has held power for nearly 31 years.

By Teklemariam Bekit, BBC News