ผู้นำประเทศนิวซีแลนด์ขอโทษผู้รอดชีวิตจากการถูกทารุณกรรมในสถานสงเคราะห์และศาสนสถานอย่างเป็นทางการ

นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ คริสโตเฟอร์ ลักสัน กล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการโดยไม่มีข้อแก้ตัวในรัฐสภาเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เกี่ยวกับกรณีการทารุณกรรม การทรมาน และการละเลยต่อเด็กและผู้ใหญ่ที่เปราะบางหลายแสนคนในสถานสงเคราะห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมือง

“มันเป็นเรื่องที่น่ากลัว ทำให้ใจสลาย ผิดมหันต์ และไม่ควรเกิดขึ้น” ลักสันกล่าวขณะพูดต่อหน้าสมาชิกรัฐสภาและกลุ่มผู้รอดชีวิตที่เข้าร่วมในที่ประชุม

จากรายงานที่เผยแพร่เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลการสอบสวนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของนิวซีแลนด์ คาดว่ามีประชาชนประมาณ 200,000 คน ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ ครอบครัวอุปถัมภ์ และการดูแลในสถานศาสนา ต้องทนทุกข์ทรมานจากการถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เป็นเวลานานกว่า 7 ทศวรรษ

“สำหรับหลาย ๆ คน การทารุณกรรมนี้ได้เปลี่ยนเส้นทางชีวิตของคุณไป และรัฐบาลต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้” ลักสันกล่าว

“คำพูดมีความหมาย และผมกล่าวคำเหล่านี้ด้วยความจริงใจ: ผมได้อ่านเรื่องราวของคุณ และผมเชื่อคุณ” นายกรัฐมนตรีกล่าว โดยเขาขอโทษในนามของรัฐบาลชุดก่อนหน้านี้ด้วย

รายงานการสอบสวนที่กินระยะเวลายาวนานถึงหกปี ซึ่งเชื่อว่าเป็นการสอบสวนที่ครอบคลุมที่สุดในระดับโลก อธิบายว่านี่คือ “ความอับอายระดับชาติ” ของประเทศ โดยในบรรดาเด็กและผู้ใหญ่ที่เปราะบาง 650,000 คน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ ครอบครัวอุปถัมภ์ และศาสนสถานระหว่างปี 1950 ถึง 2019 ในประเทศที่ปัจจุบันมีประชากร 5 ล้านคน เกือบหนึ่งในสามต้องทนกับการถูกทำร้ายทางร่างกาย การล่วงละเมิดทางเพศ การทำร้ายด้วยวาจา หรือการทำร้ายทางจิตใจ อีกจำนวนมากยังถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกละเลย

ผู้ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นชาวเมารี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของนิวซีแลนด์

เพื่อตอบสนองต่อผลการสอบสวน รัฐบาลนิวซีแลนด์ยอมรับเป็นครั้งแรกว่า การปฏิบัติต่อเด็กบางคนในโรงพยาบาลของรัฐซึ่งมีชื่อเสียงแย่ในอดีต นั้นเข้าข่ายการทรมาน และสัญญาว่าจะขอโทษผู้ที่ถูกทารุณกรรมในสถานสงเคราะห์ของรัฐ ครอบครัวอุปถัมภ์ และศาสนสถานตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของลักสันถูกผู้รอดชีวิตและผู้สนับสนุนบางคนวิพากษ์วิจารณ์เมื่อวันอังคาร ก่อนการกล่าวขอโทษ เนื่องจากยังไม่มีการเปิดเผยแผนการชดเชยทางการเงินแก่ผู้ที่ถูกทารุณกรรม

New Zealand’s leaders formally apologize to survivors of abuse in state and church care

New Zealand’s Prime Minister Christopher Luxon made a “formal and unreserved” apology in Parliament on Tuesday for the widespread abuse, torture and neglect of hundreds of thousands of children and vulnerable adults in care, many of them Indigenous.

“It was horrific. It was heartbreaking. It was wrong. And it should never have happened,” Luxon said, as he spoke to lawmakers and a public gallery packed with survivors of the abuse.

An estimated 200,000 people in state, foster and faith-based care suffered “unimaginable” abuse over a period of seven decades, a blistering report released in July said at the end of the largest inquiry ever undertaken in New Zealand.

“For many of you it changed the course of your life, and for that, the government must take responsibility,” Luxon said.

“Words do matter and I say these words with sincerity: I have read your stories, and I believe you,” he added. The Prime Minister was apologizing on behalf of previous governments too, he said.

The results were a “national disgrace,” the inquiry’s report said, after a six-year investigation believed to be the widest-ranging of comparable probes worldwide. Of 650,000 children and vulnerable adults in state, foster, and church care between 1950 and 2019 — in a country that today has a population of 5 million — nearly a third endured physical, sexual, verbal or psychological abuse. Many more were exploited or neglected.

They were disproportionately Maori, New Zealand’s Indigenous people.

In response to the findings, New Zealand’s government agreed for the first time that historical treatment of some children in a notorious state-run hospital amounted to torture, and pledged an apology to all those abused in state, foster and religious care since 1950.

Luxon’s government was decried by some survivors and advocates earlier Tuesday ahead of the apology for not yet having divulged plans for the financial compensation of those abused.

By the Associated Press