สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ แบรนด์ SIRIVANNAVARI และองค์อุปถัมภ์มูลนิธิฯ มีพระดำริให้ จัดการแสดงอุปรากร “มาดามบัตเตอร์ฟลาย” ซึ่งเป็นบทประพันธ์ดนตรีของ จาโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini) ชาวอิตาเลียน บทคำร้องเป็นภาษาอิตาเลียน โดย ลุยจิ อิลลิกา (Luigi Illica) และจูเซปเป้ จาโกซา (Giuseppe Giacosa) เป็นอุปรากรที่แสดงถึงความรักระหว่างสาวเกอิชาชาวญี่ปุ่นกับทหารเรือหนุ่มชาวอเมริกัน ที่ยึดมั่นในความรัก โดยการสละชีวิตเพื่อรักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของตน อุปรากรเรื่องนี้ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่โรงอุปรากรสกาลา ในกรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ.1904 (พ.ศ. 2447) เป็นโอเปร่าเรื่องหนึ่งที่ได้รับ ความนิยมนำออกแสดงมากที่สุด 10 อันดับแรกของโลก
การแสดงครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงรับเป็นผู้อำนวยการแสดง (Executive Producer) ทรงคัดเลือกคณะนักแสดงจาก Opera Production กรุงเวียนนา และเปิดคัดเลือกนักแสดงไทยในบทนักแสดงสมทบ และนักร้องประสานเสียง รวมทั้งสิ้น 53 คน ที่สำคัญการแสดงครั้งนี้ ชุดของนักแสดงออกแบบใหม่ทั้งหมด โดยแบรนด์ SIRIVANNAVARI นำโดยองค์ครีเอทีฟไดเรคเตอร์ ทรงออกแบบเสื้อผ้าจำนวน 14 ชุด ด้วยพระองค์เอง สำหรับ 9 ตัวละครหลักทั้งชายหญิง และอีกมากกว่า 40 ชุด โดยทีมงานของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ภายใต้แนวคิดทรงกำหนดของพระองค์ท่าน นอกจากนี้ ยังทรงมีส่วนร่วมในการออกแบบฉากเวที ร่วมกับทีมงานจากเวียนนาอีกด้วย
คณะนักแสดงจาก Opera Production ประกอบด้วยนักร้องโอเปร่าชั้นนำของยุโรป อาทิ Viktorija Miskunaite และ Laura del Rio นักร้อง Soprano รับบทเป็น Madama Butterfly, Gianluca Terranova (Tenor) รับบทเป็น B.F. Pinkerton, Alissandra Volpe (Mezzo-Soprano) รับบทเป็น Suzuki, Massimo Cavalletti (Baritone) รับบทเป็น Sharpless และ Orlando Polidoro (Tenor) ร่วมด้วย 3 นักร้องโอเปร่าชาวไทยที่มีชื่อเสียงในวงการ บรรเลงโดย Royal Bangkok Symphony Orchestra อำนวยเพลงโดย Valentin Egel ผู้อำนวยเพลงชาวเยอรมัน
ชุดเครื่องแต่งกายทรงออกแบบ โดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
- การแสดงอุปรากร “มาดามบัตเตอร์ฟลาย” แบรนด์ SIRIVANNAVARI โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี
นารีรัตนราชกัญญา ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ ได้ทรงออกแบบเสื้อผ้านักแสดงจำนวนทั้งสิ้น 14 ชุด ด้วยพระองค์เอง สำหรับ 9 ตัวละครหลักทั้งชายและหญิง และอีกมากกว่า 40 ชุด โดยทีมงานของแบรนด์ SIRIVANNVARI ภายใต้แนวคิดทรงกำหนดขององค์ดีไซเนอร์
- โดยแนวคิดในการออกแบบนั้น มีการแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ ชาวญี่ปุ่น และชาวตะวันตก โดยเสื้อผ้าของกลุ่มชาวญี่ปุ่น ได้มีการนำเสื้อผ้าจากคอลเลคชั่น Spring/Summer 2022 “The Rise of Asian” ของแบรนด์ SIRIVANNAVARI ที่มีแรงบันดาลใจมาจากความรุ่งโรจน์แห่งวัฒนธรรมอาทิตย์อุทัยมาดัดแปลง เพิ่มความอลังการด้วยงานปักอันประณีต เน้นรูปทรงวอลุ่ม เสื้อผ้าออกแบบตามขนบธรรมเนียมของชาวญี่ปุ่นแท้ ในขณะที่เสื้อผ้าชาวตะวันตก เป็นชุดร่วมสมัย แต่เพิ่มเติมรายละเอียดองค์ประกอบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดดเด่นด้วยงานปักจากช่างฝีมือชั้นครูแห่ง SIRIVANNAVARI Atelier & Academy รวมไปถึงการออกแบบ เสื้อผ้าของนักแสดงสมทบบนเวที ที่ช่วยส่งให้อุปรากรสมบูรณ์ตระการตายิ่งขึ้น
- เสื้อผ้ามีบทบาทอย่างยิ่งในการถ่ายทอดถึงความแตกต่างท่างวัฒนธรรม รวมไปถึงชนชั้นของตัวละคร ทำหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นสีสัน เนื้อผ้า บทบาทของตัวละคร ลวดลายบนผ้า ล้วนมีนัยสำคัญที่บอกเล่าเรื่องราวของบทละคร อย่างลวดลายที่อยู่บนเสื้อผ้า ไม่ว่าจะเป็น ดอกไอริส, ดอกโบตั๋น, นกกระเรียน ที่มีความหมายลึกซึ้งทั้งสิ้น การตีความแบบร่วมสมัย ใช้สีและงานปัก ลวดลายเชิงสัญลักษณ์ บอกเล่าเรื่องราว อารมณ์ความรัก ความเศร้า และความผันผ่านแห่งกาลเวลา รวมถึงถ่ายทอดวัฒนธรรมต่างทวีป เพื่อสร้างความดรามาติคอย่างสมบูรณ์ เมื่อผสานเข้ากับดนตรีอันอลังการของวง RBSO เสียงร้องอันทรงพลังของนักแสดงชั้นนำ ฉากอันอลังการและแสงสีบนเวที ที่จัดสร้างโดยทีมงานระดับโลก”
- องค์ดีไซเนอร์ทรงใช้ความรู้ในหลากหลายมิติ ในการออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย โดยต้องคำนึงถึงการเคลื่อนไหวในระหว่างการแสดงของตัวละครแต่ละตัว การคำนวณเวลาการเปลี่ยนเครื่องแต่งกายระหว่างฉาก งานออกแบบที่ดูสวยงามบนเวทีในทุกระยะการมองเห็น ทรงอยากให้งานออกแบบ Madame Butterfly นี้เป็นแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะเด็กที่เรียนศิลปะทุกๆแขนง ทั้งด้านแฟชั่น การแสดงเวที นักเรียนการแสดง งานออกแบบฉาก เพราะการแสดงอุปรากร ถือเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง รวมศาสตร์แห่งศิลปะอย่างครบองค์ หลากหลายมิติมาก ที่สำคัญที่สุด การทำงานร่วมกับทีมโปรดัคชั่นระดับนานาชาติ นักแสดงชั้นนำระดับโลก จาก Vienna Production ที่นับเป็นความร่วมมือ ระหว่างทีมไทย กับเวียนนา เป็นการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของแบรนด์แฟชั่นไทย และทีมโปรดัคชั่นไทย ในการร่วมออกแบบในครั้งนี้
- เสื้อผ้านักแสดงหญิง ชาวญี่ปุ่น ได้มีการนำเสื้อผ้าจากคอลเลคชั่น Spring/Summer 2022 “Rise of Asia” ที่มีแรงบันดาลใจมาจากความรุ่งโรจน์แห่งวัฒนธรรมอาทิตย์อุทัย มาดัดแปลงเพิ่มความอลังการ ให้เหมาะกับการแสดงบนเวที เช่น งานปักจากวัสดุล้อแสงไฟ รูปทรงชุดหรือกระโปรงวอลุ่มใหญ่เพื่อความโดดเด่นบนเวที เสื้อผ้าออกแบบตามขนบธรรมเนียมของสาวชาวญี่ปุ่นแท้ ซึ่งอ้างอิงมาจากชุดเกอิชาและชุดของหญิงชาวบ้าน ซึ่งนิยมใส่เสื้อผ้าทับซ้อนหลายชั้น โครงสร้างหลวม และใช้ผ้าคาดเอวหรือโอบิรัดเพื่อให้เกิดรูปทรง ส่วนเสื้อผ้านักแสดงหญิงชาวตะวันตก เป็นชุดร่วมสมัย แต่เพิ่มเติมรายละเอียดองค์ประกอบที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในเชิงสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นสีสันที่บ่งบอกอายุ และนิสัยของตัวละคร อาทิ นางเอกชาวญี่ปุ่น ใช้เสื้อผ้าโทนสีอ่อน ส่วนภรรยาใหม่ชาวตะวันตก ใช้ผ้าโทนสีเข้ม และมีโครงชุดเข้ารูปชัดเจน รวยมถึงลวดลายบนผ้าที่มีนัยสำคัญ เช่น ลายปักดอกโบตั๋นและดอกซากุระในชุดนางเอก ในขณะที่หญิงชาวตะวันตกปักลวดลายดอกกุหลาบ เป็นต้น
- ด้านของชุดสำหรับนักแสดงชาย แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม สำหรับชาวญี่ปุ่น และชาวตะวันตก เช่นกัน คือสำหรับชุดชาวตะวันตก ชุดสูทแบบสากลของพระเอกและเพื่อนพระเอก โครงชุดยังคงไว้ซึ่งชุดยูนิฟอร์มของทหารเรืออย่างชัดเจน ทว่าใช้เนื้อผ้าลินินในการตัดเย็บ เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง ที่พระเอกผู้เป็นนายเรือชาวอเมริกันเดินทางมายังประเทศในแถบเอเชีย ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ เช่น แถบสีที่แขน กระดุม และตราสัญลักษณ์ต่างๆ มีการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ตีความถึงพื้นเพของตัวละคร สำหรับชุดนักแสดงชายชาวญี่ปุ่นดัดแปลงมาจากเสื้อผ้าจากคอลเลคชั่น Spring/Summer 2022 “Rise of Asia” เช่นเดียวกับชุดของนักแสดงหญิง มีการผสมผสานกลิ่นอายของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมเข้ากับความร่วมสมัยที่ถ่ายทอดผ่านโครงชุด ลวดลาย และเทคนิคต่างๆ กล่าวได้ว่า เสื้อผ้ามีบทบาทอย่างยิ่งในการถ่ายทอดถึงวัฒนธรรมทางแถบเอเชียและตะวันตก รวมไปถึงชนชั้นของตัวละครต่างๆ ทำให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายขึ้นถึงแม้จะเป็นละครโอเปร่าภาษาอิตาเลียนก็ตาม ส่วนเสื้อผ้าของนักแสดงสมทบบนเวที อาทิ นักร้องคอรัส ออกแบบเป็นสีขาวครีม เป็นเสมือนสีที่เป็นพื้นหลังให้กับฉาก ไม่ขับเน้นบทบาททางการแสดง
- ในด้านการออกแบบฉากบนเวที องค์ดีไซเนอร์ทรงกำหนดแนวทางให้มีความร่วมสมัยและสอดแทรกความหมายในเชิงสัญลักษณ์ เปิดเรื่องด้วยฉากของต้นไม้อันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ เมื่อกล่าวถึงแดนอาทิตย์อุทัย พระเอกและนางเอกในเรื่องพบรักกันในช่วงฤดูร้อนซึ่งต้นซากุระจะผลิเพียงแต่ใบ โรยราเมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วงและบานสะพรั่งในฤดูใบไม้ผลิ จะเห็นได้ว่ามีการใช้องค์ประกอบที่ชวนให้นึกถึงมนต์เสน่ห์แบบญี่ปุ่น ทว่ามีการนำมาตีความใหม่ให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศให้กับฉากละคร นอกจากนี้แสงไฟเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดึงอารมณ์ของผู้ชมด้วย
โจโจซัง หรือ มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Cio-cio-san or Madam Butterfly)
ตัวละครมาดามบัตเตอร์ฟลาย หรือ โจโจซัง องค์ดีไซเนอร์ ทรงออกแบบชุดสำหรับตัวละครนางเอก จำนวน 3 ชุด สำหรับบทบาทในช่วงที่แตกต่างกัน ถ่ายทอดถึงเสน่ห์อันน่าหลงใหลของเสื้อผ้าตามขนบธรรมเนียมของสาวชาวญี่ปุ่นซึ่งอ้างอิงมาจากชุดเกอิชา เสื้อผ้าที่ซ้อนทับหลายชั้น โครงสร้างหลวม และใช้ผ้าคาดเอวหรือโอบิรัดเพื่อให้เกิดรูปทรง
เครื่องแต่งกายชุดที่ 1 และชุดที่ 2 โดดเด่นด้วยเสื้อคลุมสีครีม สัญลักษณ์ของหญิงสาววัยแรกรุ่น ตัดเย็บด้วยผ้าแจ็คการ์ด (Jacquard) ที่นิยมใช้ในงานออกแบบเสื้อผ้าชั้นสูงหรือโอตกูตูร์ (Haute Couture) ทอลายรูปดอกไอริสสีขาว สวยประณีต
ส่วนโอบิเนรมิตจากผ้าสีขาวโปร่ง เย็บซ้อนผ้าหนา แต่งแต้มด้วยงานปักสามมิติเป็นรูปซากุระนับพันดอก ชุดเกาะอกด้านในปักเลื่อมผสมคริสตัล สมบูรณ์แบบด้วยเครื่องแต่งกายของหญิงสาวชาวญี่ปุ่น สร้างความประทับใจแรกพบ ต่อพระเอกผู้เป็นชาวตะวันตก
เครื่องแต่งกายชุดที่ 3 โดดเด่นด้วยเสื้อคลุมตัวนอกจากผ้าออร์แกนดี้ (Organdy) สวมทับเสื้อคลุมผ้าทึบอีกชั้น ชุดโทนสีขาวในฉากอันเต็มไปด้วยความหมองเศร้าจากความผิดหวัง จนทำให้เธอต้องปลิดชีวิตตนเอง เสื้อคลุมดูทรงพลังด้วยงานปักนกกระเรียนสีขาวขนาดใหญ่ กางปีกโผบินดุจมีชีวิต งานปักที่วิจิตรบรรจงจากคริสตัลอันวาวระยับผสมกับเลื่อม เป็นเทคนิค
การปักที่เรียกว่าแอพลิเก้ (Appliqué) สอดแทรกด้วยลูกไม้ฝรั่งเศส เนรมิตเป็นรูปนกกระเรียน สัญลักษณ์แห่งรักแท้ ผสมสานดอกซากุระ สัญลักษณ์แห่งฤดูใบไม้ผลิ และดอกเบญจมาศหรือดอกโบตั๋น อันเป็นตัวแทนแห่งความซื่อสัตย์ การใช้เนื้อผ้าที่มีความโปร่งบางสลับกับงานปักทำให้ชุดนี้มีมิติงดงาม
ร้อยเอก บี.พี. พิงเกอร์ตัน
เครืองแต่งการชุดที่ 1 นายทหารชาวอเมริกันเดินทางมาประจำการที่ประเทศญี่ปุ่น จึงเปิดฉากมาพร้อมกับชุดเครื่องแบบซึ่งเป็นชุดสูทสากลตัดเย็บจากผ้าลินินที่เหมาะกับอากาศในแถบเอเชีย มีความเนี้ยบของกระดุมคู่ บริเวณแขนเสื้อมีงานปักลายเส้นตามเครื่องแบบทหาร ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ตีความว่าเป็นตราสัญลักษณ์ใด
เครื่องแต่งการชุดที่ 2 ครั้นเมื่อกลับมาหานางเอก หลังจากห่างหายกันไปสามปี เขาปรากฏตัวอีกครั้งในชุดลายทางสีฟ้าสลับขาวที่เข้ากับชุดของเคท พิงเกอร์ตัน ภรรยาใหม่ บริเวณปกเสื้อด้านซ้ายตกแต่งด้วยงานปักดอกไอริส สัญลักษณ์แห่งแบรนด์ SIRIVANNAVAR
ซูซูกิ (Zusuki)
เครื่องแต่งกายชุดที่ 1 วิจิตรบรรจงด้วยเสื้อคลุมจากผ้าทอในโทนสีเบจ เหลือบทองแวววาว เป็นลวดลายดอกไม้ทั่วตัว ผลงานปักอันพิถีพิถันเป็นรูปดอกโบตั๋นสามมิติ ประดับบริเวณไหล่ทั้งสองข้าง และหน้าอก คาดเอวด้วยโอบิ สวมทับชุดเเกาะอกปัก และกางเกง
เครื่องแต่งกายชุดที่ 2 ประกอบด้วยเสื้อคลุมแจคการ์ด โทนสีทองอ่อนทอลายทั่วทั้งผืน ซึ่งดัดแปลงจากผลงานเสื้อผ้า
คอลเลคชั่น Spring/Summer 2022 ที่ผ่านมาของแบรนด์ SIRIVANNAVARI และปักเพิ่มเติมอย่างประณีตเป็นรูปดอกโบตั๋นสามมิติบริเวณไหล่ทั้งสองข้างและหน้าอก
เคท พิงเคอร์ตัน
เครื่องแต่งกายของเคท พิงเคอร์ตัน สร้างสรรค์จากผ้าแจ็คการ์ดสีน้ำเงินเข้มเหลือบเงินอันหรูหรามีเสน่ห์รับกับแสงไฟ เสื้อสูทมีโครงชุดที่ชัดเจน ซึ่งเป็นการนำไอริส แจ็คเก็ต (IRIS Jacket) สัญลักษณ์แห่งแบรนด์ SIRIVANNAVARI มาตีความใหม่เพื่อเป็นชุดสำหรับนักแสดงอุปรากร เสื้อสูทไหล่ตั้ง เอวคอด สื่อถึงความเป็นตะวันตก บ่งบอกถึงพื้นเพของตัวละคร ส่วนงานปักที่ตกแต่งชุดนั้นเป็นรูปดอกกุหลาบอังกฤษและผีเสื้อ อันเผยถึงวัฒนธรรมที่เป็นขั้วตรงกันข้ามกับนางเอก สำหรับกระโปรงเป็นทรงหางปลาขับเน้นสรีระของผู้หญิงให้ดูทันสมัยยิ่งขึ้น
ชาร์พเลส
เครื่องแต่งกายชุดที่ 1 ชาร์พเลสหนุ่มชาวอเมริกันผู้เดินทางมาพร้อมกับพระเอก เปิดตัวในชุดสูทโทนสีน้ำเงินเข้ม กระดุมสองแถว อันโก้หรูแบบหนุ่มตะวันตก บริเวณปกเสื้อด้านซ้ายตกแต่งด้วยงานปักรูปดอกโบตั๋น และเครื่องแต่งกายชุดที่ 2 เป็นชุดสูทโทนสีครีมกระดุมสองแถวเช่นเดียวกัน
ยามาโดริ
ชุดของเจ้าชายมีความสง่างามแบบญี่ปุ่น สร้างสรรค์จากผ้าแจ็คการ์ดสีเบจ และตกแต่งด้วยลวดลายในโทนสีทองที่ดูหรูหรา น่าเกรงขาม ตามแบบชุดชนชั้นสูงของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม มีการใช้ผ้าไหมไทยเข้ามาผสมผสาน โทนสีที่ใช้มี ความกลมกลืนไปกับชุดของนักแสดงหญิง
บอนโซ
ชุดของบอนโซ ในบทบาทของนักบวช มีความเรียบง่าย ด้วยเสื้อคลุมดีไซน์เรียบแบบญี่ปุ่น สวมทับด้วยจีวรสีเหลือง ประณีตด้วยจีบผ้าที่ลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ตัดเย็บจากผ้าไหมไทยผสมผ้าคอตตอน
โกโร
ชุดโดดเด่นด้วยโทนสีแดงจากผ้าแจ็คการ์ดอันหรูหรา ตกแต่งด้วยลวดลายเหลือบทองอันวิจิตร สวมกับกางเกงสีน้ำตาลผูกเอว
คอมมิสซาริโอ
ชุดมีความงดงามด้วยองค์ประกอบต่างๆ คือเสื้อคลุมที่มีลักษณะคล้ายเสื้อกั๊กในโทนสีเขียว ตัดเย็บจากผ้าแจ็คการ์ดผสมผ้าทวิลที่วิจิตรด้วยลวดลายอันเกิดจากการทอ และผ้าคอตตอนที่สวมใส่สบาย ส่วนเสื้อตัวในและกางเกงในโทนสีอ่อนช่วยเสริมให้เสื้อกั๊กดูโดดเด่นยิ่งขึ้น
นักแสดงสมทบ
ชุดของนักแสดงสมทบยังคงเต็มไปด้วยรายละเอียดอันประณีต องค์ประกอบอันสื่อถึงวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวญี่ปุ่นที่นิยมสวมเสื้อผ้าหลายชิ้น ไปจนถึงการเลือกสรรเนื้อผ้าที่งดงามด้วยลวดลายต่างๆ สร้างความดรามาติคเมื่อต้องกับแสงไฟบนเวที เสื้อผ้าของแต่ละตัวละครมีสีสันที่กลมกลืนกัน และมีความพลิ้วไหวไปกับอิริยาบถต่างๆ ในการแสดง
เสื้อคลุมรูปทรงหลวมโคร่งแบบญี่ปุ่น สีสันและลวดลายผ้าแตกต่างกันไปในแต่ละตัวละคร คุณแม่แต่งในโทนสีงาช้าง คุณป้าโทนสีขาว และเสื้อคลุมสีทอง ในขณะที่ลูกพี่ลูกน้อง ในโทนสีทองโดดเด่น ลวดลายผ้าเติมเต็มรายละเอียดของชุด เสื้อคลุมตัดเย็บจากผ้าทึบผสมกับผ้าโปร่งที่มีลวดลายต่างกัน บริเวณเอวตกแต่งด้วยโอบิที่รัดให้เกิดรูปทรงของชุดและผูกโบว์ใหญ่ ทับอีกชั้น ส่วนเกาะอกและกระโปรงมีลายผ้าที่คล้ายกัน
เด็กผู้ชาย
สวมชุดยูกาตะในโทนสีเทา สวมทับด้วยโอบิบริเวณเอว ดีไซน์เรียบของชุดดูโดดเด่นด้วยลวดลายของเนื้อผ้า
Uffcio del Registo
ชุดของ Uffcio del Registo ประกอบด้วยเสื้อคลุมตัวนอก ทับเสื้อด้านในสีขาว ชุดนี้โดดเด่นด้วยลวดลายของกางเกง
โอบิ และโบว์ผูกในโทนสีและลวดลายที่เข้มขึ้นทำให้ชุดดูมีมิติ
เกอิชา
เครื่องแต่งกายสำหรับผู้รับบทเกอิชา ยังคงเต็มไปด้วยรายละเอียดอันพิถีพิถัน ในเรื่องประกอบด้วยเกอิชาทั้งหมด 6 คน แต่ละชุดมีองค์ประกอบที่เหมือนกันคือเสื้อคลุมตัวนอก เสื้อตัวใน กระโปรง โอบิ และโบว์ผูก ส่วนสีสันดูกลมกลืนกัน โดยตีความมาจากเสื้อผ้าของชุดหญิงชาวญี่ปุ่นตามขนบดั้งเดิม ลวดลายที่เรียงร้อยบนชุดของเกอิชาแต่ละคน มีความต่างกัน ทำให้เกิดเสน่ห์ และสร้างความตระการตาเมื่อเข้าฉากการแสดงที่เหล่าเกอิชามารวมตัวกัน
คนรับใช้
เช่นเดียวกับเกอิชา ชุดของคนรับใช้ทั้ง 5 คนแต่งแต้มด้วยโทนสีที่เข้ากับนักแสดงหลักที่เป็นชาวญี่ปุ่น แต่ละชุดประกอบด้วยเสื้อคลุม กางเกงทรงพองและโบว์ผูกทับเสื้อคลุม มีจุดเด่นตรงที่ความหลากหลายของลายผ้าที่ทำให้แต่ละชุดดูต่างกัน ทำให้เกิดความสมจริงเมื่อตัวละครทั้งหมดเข้าฉากด้วยกัน
คณะนักร้องประสานเสียง
สำหรับการแสดงโอเปร่า นักร้องประสานเสียงหรือคอรัส มีบทบาทสำคัญถึงแม้จะไม่มีบทบาทในเชิงการแสดงก็ตาม ในเรื่องนี้มีมากถึง 28 คน ในแง่ของเครื่องแต่งกาย ชุดสำหรับคอรัสจึงเป็นโทนสีขาวครีม สื่อถึงการสร้างบรรยากาศ งดงามด้วยเลเยอร์ของผ้าที่พลิ้วไหวและซ้อนทับกันหลายชั้น ประกอบด้วยเสื้อคลุมตัวนอกที่มีลวดลาย สวมทับด้วยโอบิ เสื้อแขนยาวตัวในโทนสีเรียบรับกับกางเกง
On the auspicious occasion of His Majesty the King’s 6th Cycle Birthday Anniversary on 28 July 2024, the Office of the Prime Minister, in collaboration with the Royal Bangkok Symphony Orchestra Foundation under the patronage of Her Royal Highness Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya, will organize a performance to honor His Majesty. This celebration will feature a world-class opera performance of “Madama Butterfly.”
On the auspicious occasion of His Majesty the King’s 72nd birthday anniversary on July 28, 2024, the Office of the Prime Minister, Ministry of Culture, and the Royal Bangkok Symphony Orchestra Foundation under the patronage of Her Royal Highness Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya have organized an opera performance of “Madama Butterfly” on Tuesday, July 23, and Wednesday, July 24, 2024, at the Main Auditorium, Thailand Cultural Centre.
Her Royal Highness Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya, the foundation’s patron, has envisioned the foundation organizing the opera “Madama Butterfly,” composed by Italian Giacomo Puccini with Italian libretto by Luigi Illica and Giuseppe Giacosa. This opera tells the tragic love story of a Japanese geisha and an American naval officer, highlighting themes of love and honor. Premiered at La Scala in Milan, Italy, in 1904, it remains one of the world’s most frequently performed operas.
For this performance, Her Royal Highness Princess Sirivannavari serves as Executive Producer, selecting the cast from Opera Production in Vienna. Auditions were held for roles such as Mother, Aunt, Cousin, Geishas, Relative and Servants, and chorus members. The entire wardrobe for the production has been newly designed, with Her Royal Highness herself designing 14 costumes for the nine main characters: Cio-Cio San (the heroine), Pinkerton (the hero), Suzuki (the maid), Yamadori (the prince), Kate Pinkerton (the new wife), Bonzo (the Japanese priest), Goro (the matchmaker), Sharpless (the hero’s friend), and the Commissario (the Japanese nobleman). An additional 40 costumes were designed by the SIRIVANNAVARI team under her direction.
The cast from Opera Production includes leading European opera singers such as Viktorija Miskunaite and Laura del Rio (Soprano) as Madama Butterfly, Gianluca Terranova (Tenor) as B.F. Pinkerton, Alissandra Volpe (Mezzo-Soprano) as Suzuki, Massimo Cavalletti (Baritone) as Sharpless, and Orlando Polidoro (Tenor). They are joined by three renowned Thai opera singers. The Royal Bangkok Symphony Orchestra will perform, conducted by German conductor Valentin Egel.
Ratiros Chulachart, Vice President of Iris 2005 Co., Ltd., and executive of the SIRIVANNAVARI brand, stated, “The SIRIVANNAVARI brand, founded and creatively directed by Her Royal Highness Princess Sirivannavari, is honored to be part of this world-class opera performance in celebration of this auspicious royal birthday. It is the first high-end fashion brand in East Asia to design costumes for a world-class opera ensemble. This is a pinnacle of cultural expression that spans over a century. The design concept incorporates both Western and Eastern elements, referencing traditional Japanese attire and historical military uniforms with contemporary interpretations. Colors, embroidery, and symbolic patterns convey stories of love, sorrow, and the passage of time, dramatized perfectly with RBSO’s grand music, powerful vocals, and world-class stage production.”
The SIRIVANNAVARI brand, through its designer, has created 14 costumes for the nine main characters, blending traditional Japanese and Western styles. For the Japanese female characters, the design adapts pieces from the Spring/Summer 2022 “Rise of Asia” collection, inspired by Japanese culture’s golden age. These designs are enhanced for stage presence with reflective embroidery, voluminous skirts, and traditional layering, referencing geisha and traditional village attire. Western female characters’ costumes are contemporary with added symbolic elements like color and pattern to represent characters’ age and personality. For example, the Japanese heroine’s costumes use soft tones, while the new Western wife’s costumes are in darker shades with structured designs, incorporating symbolic embroidery like peonies and cherry blossoms for the Japanese heroine and roses for the Western wife.
Men’s costumes are divided into Western and Japanese groups. Western male characters wear traditional suits with elements of naval uniforms made from linen, reflecting the American naval officer’s journey to Asia. These designs feature newly created elements like sleeve bands, buttons, and insignia, allowing the audience to infer character backgrounds. Japanese male characters’ costumes are also adapted from the “Rise of Asia” collection, combining traditional Japanese aesthetics with modern interpretations through structure, pattern, and technique. These costumes play a crucial role in depicting the Asian and Western cultures and characters’ social status, aiding the audience’s understanding of the Italian opera.
Supporting cast costumes, such as for the chorus, are designed in white to serve as a backdrop for the stage. The stage design, directed by the designer, incorporates modern elements with symbolic meanings. The opening scene features a tree symbolizing Japan, with the hero and heroine meeting in summer, when cherry blossoms are budding. The tree’s leaves fall in autumn and bloom again in spring, reflecting Japanese charm with a modern twist to enhance the opera’s atmosphere. Lighting plays a significant role in drawing the audience’s emotions.