รัฐบาลสหรัฐฯ เคยปิดตัวมาแล้วถึง 10 ครั้งในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ในประเทศอื่น ๆ รัฐบาลยังคงดำเนินงานได้ แม้ในสถานการณ์สงครามหรือวิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญ เหตุใดปัญหานี้จึงเกิดขึ้นเฉพาะในสหรัฐฯ
สำหรับประเทศส่วนใหญ่ การปิดตัวของรัฐบาลมักเกิดจากสถานการณ์ร้ายแรง เช่น การปฏิวัติ การรุกราน หรือภัยพิบัติ แต่ในสหรัฐฯ การปิดตัวกลับกลายเป็นเครื่องมือในการต่อรองทางการเมืองและเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ระบบรัฐบาลกลางของสหรัฐฯ อนุญาตให้แต่ละสาขาของรัฐบาลอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคการเมืองที่ต่างกัน โครงสร้างนี้ได้รับการออกแบบโดยผู้ก่อตั้งประเทศเพื่อส่งเสริมการประนีประนอมและการพิจารณาอย่างรอบคอบ แต่ในปัจจุบันกลับให้ผลตรงกันข้าม
ปัญหานี้เริ่มต้นในปี 1980 เมื่ออัยการสูงสุดในสมัยของประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ตีความกฎหมาย Anti-Deficiency Act ปี 1884 เอาไว้อย่างจำกัดและเคร่งครัดมาก กฎหมายดังกล่าวห้ามรัฐบาลทำสัญญาโดยไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภา ก่อนหน้านั้น หากเกิดการขาดช่วงในงบประมาณ รัฐบาลยังคงอนุญาตให้ดำเนินการใช้จ่ายที่จำเป็นต่อไปได้ แต่หลังจากปี 1980 รัฐบาลได้ใช้แนวทางที่เคร่งครัดขึ้นว่า “ไม่มีงบประมาณ ก็ไม่มีการใช้จ่าย”
การตีความกฎหมายนี้ทำให้สหรัฐฯ แตกต่างจากระบอบประชาธิปไตยอื่น ๆ เช่น บราซิล ซึ่งฝ่ายบริหารมีอำนาจเข้มแข็งพอที่จะดำเนินการต่อในระหว่างปัญหาทางงบประมาณ
การปิดตัวครั้งแรกของสหรัฐฯ เกิดขึ้นในปี 1981 เมื่อประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ใช้สิทธิวีโต้ร่างงบประมาณ การปิดตัวครั้งนั้นกินเวลาเพียงไม่กี่วัน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา มีการปิดตัวของรัฐบาลเกิดขึ้นอีกอย่างน้อย 10 ครั้ง โดยบางครั้งกินเวลาเพียงครึ่งวัน ขณะที่บางครั้งยาวนานกว่า 1 เดือน การปิดตัวครั้งล่าสุดตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2018 ถึง 25 มกราคม 2019 เป็นครั้งที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์
แม้ว่าบริการสำคัญบางอย่าง เช่น การจ่ายเงินประกันสังคมและการปฏิบัติหน้าที่ของกองทัพ จะยังคงดำเนินต่อไปได้ แต่พนักงานรัฐบาลกลางหลายแสนคนไม่ได้รับค่าจ้าง ในช่วงนั้นทำเนียบขาวประเมินว่าการปิดตัวทำให้การเติบโตของ GDP ลดลง 0.1% ต่อสัปดาห์
ในประเทศอื่น การปิดตัวแบบนี้แทบเป็นไปไม่ได้ ระบบรัฐสภาที่ใช้ในยุโรปส่วนใหญ่ทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคหรือกลุ่มพันธมิตรเดียวกัน หากรัฐสภาปฏิเสธร่างงบประมาณที่เสนอโดยนายกรัฐมนตรี มักจะนำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ แทนที่จะเกิดการหยุดชะงักของบริการ เช่น อุทยานแห่งชาติ การคืนภาษี และโครงการช่วยเหลือด้านอาหาร
ตัวอย่างเช่น ในปี 2011 แคนาดามีการเลือกตั้งใหม่เมื่อพรรคฝ่ายค้านปฏิเสธงบประมาณของพรรคอนุรักษนิยมที่มีเสียงข้างน้อยในรัฐสภา แต่บริการของรัฐบาลยังคงดำเนินต่อไป เช่นเดียวกับเบลเยียม ซึ่งไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นเวลา 589 วัน ระหว่างปี 2010-2011 แต่บริการขนส่งสาธารณะยังคงดำเนินงาน
ขณะที่ไอร์แลนด์สามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่องระหว่างปี 2016-2020 ภายใต้รัฐบาลเสียงข้างน้อย โดยใช้ระบบ “ความไว้วางใจและการสนับสนุน” ซึ่งพรรคที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจตกลงสนับสนุนร่างงบประมาณและการลงมติไว้วางใจ
อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือแบบนี้เริ่มหายากขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งพรรคการเมืองที่ขัดแย้งกันพร้อมใช้การบริหารงานประจำวันของรัฐบาลเป็นเครื่องมือต่อรอง
ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปีที่แล้ว งบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้รับการขยายระยะเวลาอย่างน้อย 3 ครั้ง หลังจากที่เควิน แม็คคาร์ธี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ถูกปลดออกจากตำแหน่งและแทนที่ด้วยไมค์ จอห์นสัน จนถึงตอนนี้ มีการผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวด้วยการสนับสนุนจากทั้งสองพรรค
ในขณะที่ผู้ว่าที่ได้รับเลือกตั้งอย่างโดนัลด์ ทรัมป์ และอีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีด้านเทคโนโลยี พยายามขัดขวางร่างงบประมาณชั่วคราวที่จะทำให้รัฐบาลได้รับเงินสนับสนุนจนถึงวันที่ 14 มีนาคม งบประมาณปัจจุบันจะหมดอายุในเวลา 00.01 น. วันเสาร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการปิดตัวของรัฐบาลครั้งที่ 11 ได้ในเร็ว ๆ นี้
Why government shutdowns seem to only happen in US
The US government has shut down ten times over the past 40-plus years. Meanwhile, in other countries, governments keep functioning, even in the midst of wars and constitutional crises. So why does this uniquely American phenomenon keep happening?
For most of the world, a government shutdown is very bad news – the result of revolution, invasion or disaster. But in the US, it has become a kind of bargaining tool for political leaders – and a perennial phenomenon.
So why does this keep happening?
America’s federal system of government allows different branches of government to be controlled by different parties. It was a structure devised by the nation’s founders to encourage compromise and deliberation, but lately it has had the opposite effect.
That’s because in 1980, the attorney general under President Jimmy Carter issued a narrow interpretation of the 1884 Anti-Deficiency Act. The 19th Century spending law banned the government from entering into contracts without congressional approval; for almost a century, if there was a gap in budgets, the government had allowed necessary spending to continue. But after 1980, the government took a much stricter view: no budget, no spending.
That interpretation has set the US apart from other non-parliamentary democracies, such as Brazil, where a strong executive branch has the ability to keep the lights on during a budget impasse.
The first US shutdown occurred shortly after in 1981, when President Ronald Reagan vetoed a funding bill, and lasted for a few days. Since then, there’s been at least ten others that led to a stop in services, lasting anywhere from half-a-day to over a month. The last one, from 21 December 2018 to 25 January 2019, was the longest on record.
While some essential services did continue to run, like Social Security and the military, hundreds of thousands of federal workers were not paid. At the time, the White House estimated that the shutdown reduced GDP growth by 0.1 percentage points for every week the salary stoppage went on.
Elsewhere in the world, such shutdowns are practically impossible. The parliamentary system used by most European democracies ensures that the executive and legislature are controlled by the same party or coalition. Conceivably, a parliament could refuse to pass a budget proposed by the prime minister, but such an action would likely trigger a new election – not a stoppage in services like national parks, tax refunds and food assistance programmes.
That’s exactly what happened in Canada in 2011, when opposition parties rejected the budget proposed by then-Prime Minister Stephen Harper’s Conservative Party, which had a minority of seats in parliament. The House of Commons then passed a motion of no-confidence, triggering an election. Meanwhile, the government’s services ticked away.
Even in Belgium, which did not have an elected government in power for 589 days between 2010-2011, the trains kept running.
More recently, Ireland managed to keep everything running from 2016-2020 under a minority government with a confidence-and-supply system, which is when parties not in power agree to support spending bills and confidence votes.
But this type of cooperation has become increasingly rare in the US, where warring political parties seem all-too willing to use the day-to-day functioning of the government as a bargaining chip to extract demands from the other side.
Government funding has been extended at least three times since last autumn, when then-Republican Speaker Kevin McCarthy was ousted and eventually replaced with current Speaker Mike Johnson. So far, temporary spending bills have been passed through bipartisan support.
With President-elect Donald Trump and tech billionaire Elon Musk’s efforts to kill a short-term funding bill that would have funded the government through 14 March, the current budget will expire on Saturday at 12:01am local time. That means an eleventh government shutdown could be right around the corner.
By Robin Levinson King and Anthony Zurcher, BBC News