โรคเหงือก ตัวการเงียบ อาจเชื่อมโยงโรคอัลไซเมอร์ เสี่ยงสมองเสื่อมโดยไม่รู้ตัว

#thethailandersnews

ในขณะที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับโรคอัลไซเมอร์ในฐานะโรคเสื่อมของสมองที่ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ งานวิจัยใหม่กลับเปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจว่า โรคเหงือกอาจมีบทบาทสำคัญในฐานะตัวการลับที่ซ่อนอยู่ โดยนักวิจัยพบแบคทีเรีย Porphyromonas gingivalis ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์หรือโรคเหงือก ในสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่เสียชีวิตแล้ว และเมื่อลองศึกษาในหนูทดลอง พบว่าแบคทีเรียนี้สามารถเข้าไปตั้งรกรากในสมองและกระตุ้นการสร้างโปรตีนอะไมลอยด์ เบต้า ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายเซลล์ประสาทและเกี่ยวข้องกับการเกิดอัลไซเมอร์

แม้ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าโรคเหงือกเป็นสาเหตุโดยตรงของอัลไซเมอร์หรือไม่ แต่งานวิจัยนี้ช่วยเสริมแนวคิดว่า การอักเสบเรื้อรังที่เกิดจากโรคเหงือกอาจเป็นตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้สมองเสื่อมได้เร็วขึ้น เพราะมีการตรวจพบเอนไซม์พิษจากแบคทีเรียในสมองของผู้ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองก่อนจะแสดงอาการสมองเสื่อมอย่างชัดเจน ซึ่งหมายความว่ากระบวนการทำลายสมองอาจเริ่มขึ้นหลายปีก่อนที่ผู้ป่วยจะรู้ตัว

ปัจจุบัน โรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด ยาที่ใช้เพียงช่วยชะลออาการและบรรเทาปัญหาความจำ แต่ในทางกลับกัน โรคเหงือกถือเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้ หากใส่ใจทำความสะอาดช่องปาก ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำก็สามารถลดการอักเสบและควบคุมโรคได้ และข่าวดีคือ บริษัทเภสัชกรรม Cortexyme ได้พัฒนาสารประกอบ COR388 ซึ่งสามารถลดการติดเชื้อแบคทีเรียและการสะสมของอะไมลอยด์ เบต้า ในการทดลองกับสัตว์ แม้ว่ายังต้องรอการยืนยันผลในมนุษย์ แต่การค้นพบนี้ได้จุดประกายความหวังใหม่ให้กับการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่มีความคืบหน้ามานานกว่า 15 ปี

การเชื่อมโยงระหว่าง 2 โรคนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนสำคัญ ว่าการดูแลสุขภาพช่องปากไม่ใช่แค่เรื่องฟันผุหรือกลิ่นปาก แต่ยังอาจเป็นกุญแจช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรงอย่างสมองเสื่อมในระยะยาวได้ ดังนั้น การแปรงฟันอย่างถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟัน และตรวจเช็กสุขภาพฟันสม่ำเสมอ อาจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดเพื่อปกป้องทั้งรอยยิ้มและสมองของเราในอนาคต

New research suggests a surprising connection between Alzheimer’s disease and gum disease. Scientists discovered Porphyromonas gingivalis, the main bacterium behind chronic gum disease, in the brains of deceased Alzheimer’s patients. In mice, this bacterium not only colonized the brain but also triggered amyloid beta production, a key factor in Alzheimer’s development.

While it’s not yet confirmed that gum disease directly causes Alzheimer’s, chronic inflammation from gum infections may accelerate brain degeneration, potentially starting years before symptoms appear.

Currently, Alzheimer’s has no cure; treatments only slow symptoms. On the other hand, gum disease can be prevented and controlled through proper oral hygiene and regular dental check-ups.

A new compound, COR388, developed by Cortexyme, has shown promise in reducing both bacterial infection and amyloid beta in animal studies, offering new hope for future treatments.

This possible link highlights that taking care of your teeth isn’t just about oral health — it may also help protect your brain in the long run.

#Alzheimers #OralHealth #GumDisease #Healthy

ที่มา : www.science.org