โรมาเนียและบัลแกเรียได้ก้าวสู่การเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบในเขตเชงเก้น (Schengen) ซึ่งเป็นพื้นที่ไร้พรมแดนของสหภาพยุโรป (EU) หลังการยกเลิกการตรวจพรมแดนทางบกในกลุ่มประเทศสมาชิกอย่างเป็นทางการ
การขยายพื้นที่เชงเก้นนี้มีผลในช่วงเที่ยงคืนวันพุธที่ผ่านมา โดยมีการเฉลิมฉลองในจุดผ่านแดนหลายแห่งในทั้งสองประเทศ ทันทีที่ถึงเวลาเที่ยงคืน รัฐมนตรีมหาดไทยของบัลแกเรียและโรมาเนียได้ยกไม้กั้นบนสะพานข้ามแม่น้ำดานูบ (Danube Bridge) เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการเปิดพรมแดน และยังมีการจุดดอกไม้ไฟใกล้เมืองรูเซ (Ruse) ของบัลแกเรีย ซึ่งเป็นบริเวณปลายสะพาน
“ยินดีต้อนรับสู่เชงเก้น บัลแกเรียและโรมาเนีย!” แถลงการณ์บนแพลตฟอร์ม X ของรัฐสภายุโรปกล่าวเมื่อวันพุธ พร้อมเสริมว่า “นับจากวันนี้ จะไม่มีการตรวจพรมแดนทางบกระหว่างบัลแกเรียหรือโรมาเนียกับประเทศใด ๆ ในเชงเก้นอีกต่อไป”
ทั้งสองประเทศเคยเข้าร่วมเขตเชงเก้นบางส่วนตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยได้ยกเลิกการตรวจสำหรับการเดินทางทางอากาศและทางทะเล แต่การหารือเรื่องการยกเลิกการตรวจพรมแดนทางบกยังดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งอุปสรรคสุดท้ายถูกขจัดไปเมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากออสเตรียยกเลิกการใช้สิทธิยับยั้ง เนื่องจากเคยกังวลเกี่ยวกับการยับยั้งการอพยพเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ระบุว่าการขยายพื้นที่เชงเก้นครั้งนี้ทำให้ “สหภาพยุโรปเข้มแข็งขึ้น ทั้งในเชิงภายในและบนเวทีโลก” ปัจจุบัน เขตเชงเก้นครอบคลุม 25 ประเทศสมาชิกของ EU จากทั้งหมด 27 ประเทศ (ยังไม่รวมไซปรัสและไอร์แลนด์) รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์
ข้อมูลจากคณะกรรมาธิการยุโรปชี้ว่า เขตเชงเก้นเปิดโอกาสให้ประชากรใน EU กว่า 425 ล้านคน รวมถึงผู้ที่อาศัยหรือนักท่องเที่ยวจากนอก EU เดินทางข้ามพรมแดนได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการตรวจค้นเป็นพิเศษ อีกทั้งยังส่งเสริมเสรีภาพในการเดินทาง ทำงาน และอยู่อาศัยในพื้นที่ของสหภาพยุโรป
อย่างไรก็ดี โครงการเชงเก้นเองก็เคยสร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกในบางครั้ง โดยเฉพาะในประเด็นด้านความมั่นคงและการควบคุมผู้อพยพผิดกฎหมาย ล่าสุด เยอรมนีได้ประกาศให้มีการตรวจพรมแดนทางบกอีกครั้งในเดือนกันยายน เพื่อควบคุมสถานการณ์การย้ายถิ่น โดยอาศัยสิทธิภายใต้กฎของสหภาพยุโรปที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิกนำมาตรการตรวจสอบพรมแดนภายในกลับมาใช้อย่างชั่วคราวได้หากมีภัยคุกคามร้ายแรงต่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงภายในประเทศ.
นักวิเคราะห์คาดว่าการร่วมเป็นสมาชิกเต็มรูปแบบในเขตเชงเก้นของโรมาเนียและบัลแกเรีย จะส่งผลดีทั้งในมิติการท่องเที่ยว การค้า และการลงทุนระหว่างประเทศในภูมิภาค โดยช่วยเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นของยุโรป และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีโลกอีกด้วย
Romania and Bulgaria fully join Europe’s borderless travel zone
Romania and Bulgaria have become full members of the European Union’s border-free Schengen area after scrapping land border controls in the bloc.
The expansion was officially introduced at midnight on Wednesday and was marked by celebrations at some of the countries’ border posts.
“Welcome to Schengen, Bulgaria and Romania!” the European Parliament wrote in a post on X Wednesday.
“As of today, there will be no more checks when travelling across land borders between Bulgaria or Romania and any Schengen member country,” it added.
At the stroke of midnight, the Bulgarian and Romanian interior ministers symbolically raised a barrier of the Danube Bridge, Reuters reported. That crossing, also known as the Friendship Bridge, connects the two countries and is a key transit point for international trade. Fireworks were also set off close to the Bulgarian border town of Ruse, where the bridge enters the country.
The two former communist countries partially joined the Schengen area in March when they lifted checks on traveling by air and sea. However, discussions over the land border controls continued.
The final barrier to full membership was removed last month, when Austria dropped a veto it had maintained on the grounds that more was needed to stop irregular migration, Reuters reported.
The European Commission has previously welcomed the expanded Schengen area, describing it as making “the EU stronger as a Union, internally and on the global stage.”
The area now encompasses 25 of the 27 EU member states, excluding Cyprus and Ireland. It also covers Switzerland, Norway, Iceland and Liechtenstein.
According to the European Commission, it enables the free movement of more than 425 million EU citizens, as well as non-EU nationals living in the bloc or visiting.
It also enables citizens in the bloc to travel, work and live without special formalities.
The Schengen zone is the largest area of free movement in the world, according to the commission.
The scheme has occasionally caused friction among its member states, including over flashpoint issues such as security and migration.
In September, Germany chose to temporarily reintroduce controls along all its land borders as part of a crackdown on migration.
Member states have the ability to temporarily reintroduce border control at internal borders in the event of a serious threat to public policy or internal security.
By Sophie Tanno, CNN