Van Cleef & Arpels – Mystery Set

ซ่อนหนามเตย

การฝังอัญมณีขึ้นตัวเรือนด้วยเทคนิคซ่อนหนามเตย (Mystery Set) ซึ่ง Van Cleef & Arpels ได้ดำเนินการจดสิทธิบัตรคุ้มครองมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1933 นั้น อาจเป็นหนึ่งในสุดยอดความเป็นเลิศของศิลปะการสรรค์สร้างเครื่องประดับชั้นสูงก็ว่าได้ เทคนิคอันสุดแสนวิจิตรบรรจงนี้ เป็นผลจากภารกิจต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งโดยปราศจากความย่อท้อ ซึ่งดำเนินมายาวนานกว่าหลายศตวรรษ ในการหาหนทางทำให้ตัวเรือนโลหะเลอค่ากลายเป็นเวทีจัดแสดงบรรดาอัญมณีอย่างแท้จริงโดยไม่ปรากฏให้เห็นแม้แต่เศษเสี้ยวโครงสร้างจนกลายเป็นจุดรบกวนสายตา

 

ขั้นตอนลำดับแรกในการสร้างสัญลักษณ์อันเป็นรูปแบบเฉพาะตัว

เข็มกลัดปีค.ศ. 1936

ตัวเรือนทองคำสีเหลืองฝังทับทิมซ่อนหนามเตย, ตัวเรือนแพลทินัมฝังเพชร

Van Cleef & Arpels Collection

เข็มกลัดปี 1936 ชิ้นนี้ เป็นหนึ่งในเครื่องประดับตัวเรือนซ่อนหนามเตย ซึ่งเก่าแก่ที่สุดจากงานออกแบบเฉพาะตัวของ Van Cleef & Arpels Collection แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการนำเทคนิคนี้มาใช้กับตัวเรือนโมทิฟสามมิติ ก่อผลลัพธ์ของการจัดตำแหน่งอัญมณีชิดขอบเรียงตัวเป็นผิวเรียบเสมอกันตามสัณฐานโค้งมน และอาจกล่าวได้ว่า นี่เป็นผลงานต้นแบบนวัตกรรมเชิงเทคนิค และสุนทรียศาสตร์ทางการสร้างสรรค์ซึ่งสืบทอด และขยายผลต่อเนื่องมายาวนานกว่าหนึ่งศตวรรษ อีกทั้งยังเป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่รู้จักวงกว้างให้แก่เมซงเครื่องประดับชั้นสูง เข็มกลัดชิ้นนี้ประกอบขึ้นจากโมทิฟใบไม้ต่างแบบ ต่างตัวเรือน โดยอาศัยขั้วต่างทางความขัดแย้งทั้งในแง่ของสี, สไตล์การออกแบบ และเทคนิคทางการผลิต นั่นก็คือ ในส่วนของโมทิฟชั้นล่างคือตัวเรือนแพลทินัมรองรับการฝังเพชรเจียระไนทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าบาแก็ตต์

ไปตามมิติ และร่องลายงานออกแบบแนวอลังการศิลป์ (Art Deco) ในขณะที่โมทิฟใบไม้ชิ้นบนโดดเด่นสะดุดตาด้วยการใช้เฉดสีสดชัดจรัสตากับสัณฐานทรงโค้ง อันถือได้ว่าเป็นผลงานแหวกแนวอย่างยิ่งของยุคนั้น โมทิฟตัวเรือนเครื่องประดับชิ้นนี้ เป็นผลจากงานวิจัย ซึ่งดำเนินขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เพื่อหาหนทางในการฝังอัญมณีกลบโลหะตัวเรือนให้มิดชิด และหมดจดจนไม่ปรากฏเห็นเนื้อโลหะแม้แต่น้อยมาดึงสายตา หรือแข่งความงามของน้ำและไฟในเนื้อรัตนชาติ อีกนัยหนึ่งก็คือ การเอื้ออำนวยให้รัตนชาติแต่ละเม็ด และทุกเม็ดสามรถจรัสประกายความงามในเนื้อแท้ของตนได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนั้น ในค.ศ. 1933 เมื่อ Van Cleef & Arpels ทำการจดสิทธิบัตรคุ้มครองเทคนิคนวัตกรรมฝังอัญมณีซ่อนเขี้ยวหนามเตยโลหะบนตัวเรือน ย่อมนำมาซึ่งปรากฏการณ์ทางสุนทรียศิลป์แห่งวงการอัญมณีอย่างครึกโครม

สิทธิบัตรรุ่นบุกเบิก

หลังดำเนินการจดทะเบียนคุ้มครอง ณ สำนักงานสิทธิบัตรกลาง (Direction de la propriété industrielle) ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1933 สิทธิบัตรครั้งแรกนี้ก็กลายเป็นตัวแทนความมุ่งมั่นของ Van Cleef & Arpels อย่างชัดเจนต่อเป้าหมายทางการคิดค้นกลไกประดิษฐ์รุ่นใหม่สำหรับใช้ฝังอัญมณีขึ้นตัวเรือนเพื่อเผยความงดงามในเนื้อแท้ของรัตนชาติให้ปรากฎครบครันทุกแง่มุม ข้อความตามระบุในเนื้อหาสิทธิบัตรเป็นประจักษ์พยานชั้นดีถึง “ในการฝังรัตนชาติล้ำค่าต่างๆ ขึ้นตัวเรือน กลไก หรือวิธีการทั้งหลายซึ่งปฏิบัติกันอยู่จนถึงปัจจุบันหลังขั้นตอนอันดับแรกอันได้แก่การเตรียมตระเตรียมตัวเรือนรองรับการฝังรัตนชาติ ฐานติดตั้งอย่างเขี้ยวหนามเตยจะถูกยกโครงขึ้นอำนวยต่อการดัดพับจับขอบข้างของรัตนชาติเหล่านั้น […] ในกรณีทั่วไปทั้งหมด โลหะตัวเรือนจะปรากฏให้เห็นต่อสายตาเมื่อมองเครื่องประดับมาจากด้านบน และชัดเจนยิ่งขึ้นในส่วนของช่วงล่างโครงสร้างตัวเรือน ด้วยเหตุนั้น เทคนิคการฝังอัญมณีขึ้นตัวเรือนเหล่านี้จึงก่ออุปสรรคบดบังตำแหน่งบางส่วน หรือหลายส่วนของรัตนชาติ ไม่ต่างจากการลดทอนสัดส่วนของการปรากฏ และประกายไฟเจิดจ้าอันสะท้อนตัวออกมาจากภายในน้ำ หรือเนื้อของเพชรพลอย […] ประดิษฐกรรมรุ่นนี้ ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อคลี่คลายอุปสรรครบกวนความงามดังกล่าว ด้วยการฝังรัตนชาติโดยอาศัยวิธี หรือหนทาง ซึ่งจะทำให้มองเห็นแต่เพียงรัตนชาติ ในขณะที่วัสดุตัวเรือนจะถูกกลบซ่อน หรือปิดบังไว้อย่างมิดชิด และหมดจด”

ข้อความตัดตอนจากเนื้อหาในสิทธิบัตร หมายเลข 764.966 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 1933

จากสิทธิบัตรอันดับแรกสู่นิทรรศการนานาชาติปี 1937

กระเป๋ากล่องลายลำแสง (Radiant Minaudière) ผลงานปี ค.ศ. 1934

ตัวเรือนทองคำเฉดเหลืองประดับงานฝังทับทิมซ่อนหนามเตย

Van Cleef & Arpels Collection

ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1933 Van  Cleef  & Arpels ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรคุ้มครอง “ระบบกลไกสำหรับฝังรัตนชาติล้ำค่าขึ้นตัวเรือน” โดยตั้งชื่อว่า Mystery Set หรือ “การฝังอัญมณีขึ้นตัวเรือนแบบซ่อนหนามเตย” (ซึ่งอาจเรียกสั้นๆ ได้ทั้ง “เทคนิคซ่อนหนามเตย” หรือ “ตัวเรือนซ่อนหนามเตย” ตามบริบทประโยค) ตามมาด้วยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและพาณิชย์เมื่อปีค.ศ. 1936  กรรมวิธีสร้างงานเทคนิคนี้ถือเป็นนวัตกรรมล้ำสมัยจากกลไก หรือระบบการฝังรัตนชาติขึ้นตัวเรือนอันอำนวยต่อการกลบซ่อน หรือบดบังโลหะโครงสร้างไว้ภายใต้อัญมณีได้อย่างมิดชิด และหมดจด

สายตาที่มองตรงมา (โดยไม่พลิกกลับ หรือคว่ำตัวเรือน) จะเห็นแต่เพียงบรรดารัตนชาติชิดขอบเรียงเสมอกันไปตามสัณฐานโครงสร้างตัวเรือน หรือชิ้นงาน ไม่นานนักหลังจากนั้น บนพื้นผิวเรียบเนียนของตลับแป้ง, กล่อง, กระเป๋าทรงกล่องที่เรียกว่า  “มิโนดิเอร์” (Minaudière) อันล้วนสร้างชื่อให้แก่ Van Cleef & Arpels มาตลอด รวมถึงกระดุมข้อมือเสื้อ ต่างล้วนได้รับการตกแต่งด้วยรัตนชาตินานา ซึ่งผ่านการเจียระไนอย่างละเอียดอ่อนให้ได้รูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสจรัสประกายล้อแสงเล่นเงาอย่างเต็มที่จากการใช้เทคนิคประดิษฐ์กรรมระดับสิทธิบัตรนี้

กำไลข้อมือ 1937

ตัวเรือนแพลทินัมประกอบทองคำขาว รองรับการฝัง

ไพลินซ่อนหนามเตยเอกเทศ (Individual Mystery Set)

Van Cleef & Arpels Collection

นับจากปีค.ศ. 1935 เป็นต้นมา การนำเทคนิคซ่อนหนามเตยมาใช้แต่ละครั้งก็เปิดโอกาสให้เมซงได้สร้างสรรค์ หรือพลิกแพลงลูกเล่น ก่อกำเนิดนวัตกรรมใหม่ ทั้งในแง่ของการเพิ่มน้ำหนักทรวดทรง หรือขยายความกว้างเชิงสัณฐาน ควบคู่ไปกับการคิดค้นรายละเอียดใหม่ๆ สิทธิบัตรลงวันที่ 30 ตุลาคม อำนวยต่อการประยุกต์เทคนิคต้นแบบเพื่อก่อผลลัพธ์ “รัตนชาติแยกเม็ดจากกันเป็นเอกเทศ กระนั้น ระหว่างช่องไฟ หรือช่องว่างระหว่างรัตนชาติแต่ละเม็ด และทุกเม็ด กลับไม่ปรากฏให้เห็นโลหะตัวเรือน สายตาที่รับภาพจะมองเห็นก็แต่เพียงรัตนชาติเต็มหน้าตัด ไม่ว่าจะเจียระไนด้วยรูปทรงใด และในขนาดใดก็ตาม” และนี่คือการฝังซ่อนหนามเตยแบบเอกเทศ อันอำนวยให้รัตนชาติรูปไข่, ทรงกลม หรือทรงหยดน้ำ (ลูกแพร์) ได้ถูกยึดติดตัวเรือนแยกเม็ดออกจากกันโดยไม่ปรากฏให้เห็นโลหะตัวเรือนด้วยการนำรัตนชาติซึ่งผ่านการเจียระไนขึ้นรูปทรงไว้แล้วมาตัดเจียน ปรับรายละเอียดอีกเล็กน้อย ตัวอย่างผลงานซ่อนหนามเตยลักษณะนี้ก็คือไพลินรูปไข่ หรือทรงวงรีบนกำไลข้อมือปี 1937 อันโดดเด่นจากลูกเล่นสีตัดร่วมกับการขึ้นลายนูนต่ำ

ปีค.ศ. 1936 นำมาซึ่งความรุดหน้าอันโดดเด่น สิทธิบัตรแรกลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ให้การคุ้มครองผลงานวิจัยเพื่อนำเทคนิคซ่อนหนามเตยมาใช้กับประติมากรรมสัณฐานโค้ง หรือทรงกลม ดังจะเห็นได้

จากแหวนหัวโค้งหรือ Boule ring (บูล ริง) ที่เปิดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากไพลิน และทับทิมได้อย่างสมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังกลายเป็นเวทีทดลองกับมรกต และเพชรได้อย่างดี สองสิทธิบัตรอันตามมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และ 29 เมษายน ค.ศ. 1936 คือบทเติมเต็มการจดทะเบียนสิทธิบัตรรุ่นแรก เพื่อขยายผลเทคนิคซ่อนหนามเตยไปสู่ความซับซ้อนเชิงน้ำหนักทรวดทรง หรือสัณฐานมากยิ่งขึ้น รวมถึงการใช้รัตนชาติเจียระไนทรงหกเหลี่ยม ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คงเป็นงานออกแบบเครื่องประดับรูปใบไม้ซึ่งคล้ายแกว่งก้านกวัดไกวไปตามสายลมในจินตนาการ ตลอดจนมวลดอกไม้ที่ต่างผลิบาน หรือกำลังอยู่ในจังหวะคลี่กลีบแย้มบาน เหล่านี้ต่างอาศัยเทคนิคซ่อนหนามเตยจนกลายเป็นผลงานสร้างชื่อให้ Van Cleef & Arpels โดดเด่นอยู่ท่ามกลางเมซงเครื่องประดับอัญมณีแถวหน้าแห่งจัตุรัสว็องโดม อีกทั้งยังอำนวยต่อการรังสรรค์ผลงานแนว “สัจนิยม” ให้เผยความวิจิตรบรรจงจากอากัปการเคลื่อนไหวอย่างสมจริงตามธรรมชาติได้ต่อเนื่องมาจวบจนปัจจุบัน และยังเป็นส่วนหนึ่งในการเกื้อหนุนต่อแนวทางงานออกแบบอันเต็มเปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์อย่างแท้จริง

—  ประดิษฐกรรมสะกดสายตา:  —
นิทรรศการปี 1937

เข็มกลัดดอกเบญจมาศปี 1937

ตัวเรือนแพลทินัมประกอบทองคำเฉดเหลืองรองรับ

งานฝังทับทิมซ่อนหนามเตยประดับเพชร
Van Cleef & Arpels Collection

ณ กรุงปารีสปีค.ศ. 1937 นิทรรศการศิลปะกับวิทยาการในชีวิตยุคใหม่ (Exposition internationale des arts et techniques appliqués à la vie moderne) เปิดโอกาสให้สาธารณชนทั่วไปได้ประจักษ์ผลงาน “ตัวเรือนซ่อนหนามเตย” หรือ Mystery Set ของ Van  Cleef  &  Arpels อย่างใกล้ชิดเป็นครั้งแรกในตู้จัดแสดงเครื่องประดับอันทรงแบบฉบับสองชิ้น ซึ่งปัจจุบันถูกเก็บรักษาไว้ในฐานะผลงานมรดกหรือ patrimonial collection นั่นก็คือเข็มกลัดดอกเบญจมาศกับเข็มกลัดดอกโบตั๋น ในขณะที่ผลงานอันดับแรกโดดเด่นด้วยความอ่อนช้อยของตัวเรือนจำลองโค้งกลีบพฤกษาเสมือนจริงรองรับงานฝังทับทิมซ่อนหนามเตยเป็นจำนวนทั้งสิ้น 835 เม็ด (140 กะรัต) ร่วมกับโครงขดโค้งวงก้นหอยฝังเพชร 111 เม็ด (10.89 กะรัต) ผลงานลำดับสองก็สะกดสายตาผู้พบเห็นจากความวิจิตรบรรจงทางกระบวนการสร้างสรรค์

เข็มกลัดดอกโบตั๋นรุ่นต้นแบบประกอบไปด้วยหนึ่งดอกตูมกับหนึ่งดอกบาน ซึ่งสามารถแยก

ส่วนเป็นเข็มกลัดดอกเดี่ยวได้เช่นกัน ขนาดตระการตาของผลงานสร้างสรรค์เสมือนจริงชิ้นนี้ อาศัยการฝังทับทิมจำนวนมหาศาลถึง 700 เม็ด (น้ำหนักรวม 100 กะรัต) ร่วมกับเพชรเจียระไนทรงเหลี่ยมบาแก็ตต์ 43 เม็ด และเพชรลูกทรงกลม 196 เม็ดจนได้รับการยกย่องจากนิตยสาร Figaro (ฟิกาโร) ในยุคนั้นว่าเป็น “เครื่องประดับแนวคิดใหม่” ด้วยงานออกแบบอันอำนวยให้เครื่อง

ประดับแต่ละชิ้นมี “บุคลิกเอกลักษณ์ที่มอบความ

รู้สึกราวกับถูกสรรค์สร้างขึ้นเพื่อขับความงามของผิวพรรณละเอียดเนียน ความชัดเจนจากการหลอมรวมความวิจิตรบรรจงของเส้นรูปทรง เข้ากับความละเมียดละไมในการใช้สีก่อเสน่ห์สะกดสายตาโดยอาศัยอัจฉริยภาพทางศิลปะ และเทคนิค”

ผลตอบรับหลังได้รับนำออกแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ช่างน่าประทับใจอย่างยิ่ง เหนืออื่นใด เข็มกลัดดอกโบตั๋นคู่เรือนนี้ ได้ถูกซื้อไปโดยมาห์มูด ฟาฮรี ปาชา เอกอัครราชทูตอียิปต์ประจำกรุงปารีส และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงฟาอิซาแห่งอียิปต์ พระขนิษฐาในกษัตริย์ฟารูค

วิวัฒนาการแห่งสไตล์

ไม่ต่างอันใดจากฟันเฟืองขับเคลื่อนวงล้อแห่งวิวัฒนาการ ความนิยมชมชอบอันเป็นปฏิกิริยาตอบรับต่อผลงานสร้างสรรค์รุ่นแรกๆ เหล่านี้ ส่งผลให้เมซงนำเทคนิคซ่อนหนามเตยหรือ Mystery Set มาเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางการแสดงถึงความเป็นเลิศเชิงหัตถศิลป์เฉพาะตัวในไม่ช้า และเพื่อให้ทักษะความชำนาญแขนงนี้เป็นที่เผยแพร่ในวงกว้าง ภาพโฆษณาหลายชิ้นต่อหลายชิ้นได้ร่วมกันขับขาน “ความสดใหม่ด้วยลูกเล่นสุดเซอร์ไพรส์” ในแวดวงเครื่องประดับอัญมณี ตลอดหลายทศวรรษสืบมาหลังจากนั้น สุนทรียศิลป์ทางการออกแบบเลอค่าอย่างทรงเอกลักษณ์ ก็ได้รับการรังสรรค์ขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าจนกลายเป็นกระบวนการพัฒนา เพิ่มพูน และเติมเต็มความสมบูรณ์แบบ ผลงานซึ่งอาศัยเทคนิคฝังอัญมณีขึ้นตัวเรือนซ่อนหนามเตย ได้ถูกสรรค์สร้างขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าจวบจนปัจจุบันเพื่อเป็นประจักษ์พยานยืนยันวิวัฒนาการด้านสไตล์อันทรงแบบฉบับของ Van Cleef & Arpels พร้อมกับก่อปรากฏการณ์ครั้งสำคัญอย่างต่อเนื่องตลอดศตวรรษที่ 20

นิตยสาร Vogue ฝรั่งเศสฉบับประจำเดือนมกราคม ค.ศ. 1937 หน้า 53

จากแผนกจัดเก็บผลงานสำคัญทางประวัติศาสตร์ของ Van Cleef & Arpels

 

 

The Mystery Set

Patented by Van Cleef & Arpels in 1933, the Mystery Set technique is probably one of the most eloquent expressions of the art of High Jewelry.

It is the result of a constant and tireless quest into the presentation of gems on a precious metal mount, pursued over the centuries: making the jewel’s structure as invisible as possible.

First steps in a stylistic signature

One of the oldest Mystery Set pieces in the Van Cleef & Arpels Collection, this 1936 brooch illustrates how the technique — then successfully applied to flat surfaces — was adapted to three-dimensional motifs. As such, it is the precursor for over a century of technical and aesthetic innovations that have contributed to the High Jewelry Maison’s renown. Made up of two superimposed plant motifs, the creation stands out for its chromatic, stylistic and technical contrasts. Its lower part — in platinum and baguette-cut diamonds — displays a   silhouette and geometric lines typical of Art Deco, while the upper leaves are        characterized by their vivid color and rounded curves that are unusual for the era. This jewelry motif is the result of research carried out from the beginning of the 20th century   into   what   were   referred to as invisible mounts: a means of not obscuring parts of the stones to preserve their full brilliance. In 1933, when Van Cleef & Arpels patented an innovative technique that did away with the visible prongs of traditional stone-setting, it caused an aesthetic sensation.

Brooch, 1936

Yellow gold, platinum, Mystery Set rubies, diamonds Van Cleef & Arpels Collection

A pioneering patent:

Registered at the Direction de la propriété industrielle (Central Patents Office) on December 2nd, 1933, the first patent makes Van Cleef & Arpels’ aim clear: inventing a new way of setting stones, in order to preserve their beauty. The argument it contains bears witness: “To set precious and other stones, the means employed up to now consist, after first preparing a housing in the material that will serve as a mount, in folding this material back against the edge of these stones. […] In all cases, the mounting is visible on the upper side of the stone. On the lower side, the mounting is even more visible, because more material has to be left to support the stones. All these setting techniques thus obscure part of the stones and remove a portion of their appearance and brilliance. […] The present invention is intended to resolve these inconveniences. It consists in setting the stones in such a way that only the stone is visible, while the material that acts as its mount remains hidden.”

Extract from patent

n° 764.966, December 2nd, 1933 

From the first Patent to the 1937 International Exhibition

On December 2nd, 1933,

Van Cleef & Arpels registered a patent describing “a system for mounting precious stones,” named the Mystery Set in 1936 following the registration of the trademark. The method set   out   to   be   innovative: it would enable the settings to which the gems were fixed to remain invisible. Soon, the flat surfaces of powder compacts, boxes, Minaudières — which were already establishing the reputation of Van Cleef & Arpels — and cuff links were being adorned with multiple stones, intricately cut into square shapes, which sparkled in plays of light and shadow.

Radiant Minaudière, 1934 Yellow gold, Mystery Set rubies Van Cleef & Arpels Collection 

From 1935 onwards, each application was an opportunity

for the Maison to innovate, by gradually adding volume and bringing new details to its creations. A patent on October 30th provides for adapting it to “isolated stones, in such a way that no trace of the setting should be visible, the stone being viewed full- face, whatever the size and shape of the stone to be set.” This Mystery Set enables oval, round or pear-shaped stones to be individually secured, with no metal visible, by very slightly re- cutting the original gems. An example is offered by the oval sapphires from a 1937 bracelet, which create a generous effect of color and relief.

The year 1936 brought significant progress. A f i rst patent on February 13th described the state of research into applying the technique to sculpture in the round. The Boule ring was an opportunity to perfect

the use of sapphires and rubies, and to experiment with emeralds and diamonds.

Two new patents — dated February 24th and April 29th, 1936 — complement the original registration. The technique is now applied to more complex volumes, and to hexagonally shaped stones. Flowers and leaves come to life, bend in an imaginary breeze, or appear captured in full blossom or delicate bloom. The Mystery Set, which establishes Van Cleef & Arpels among the leading names of Place Vendôme, also enables it to imbue its creations with hitherto unseen realism and movement, and thus contributes to shaping its distinctive style.

Bracelet, 1937

Platinum, white gold, Individual Mystery Set sapphires, diamonds

Van Cleef & Arpels Collection 

— Revelation meets fascination: — the 1937 Exhibition 

Paris, 1937.  At the Exposition internationale des arts et techniques appliqués à la vie moderne (International Exposition of Art and   Technology in Modern Life), the general public discovered Van Cleef & Arpels’ Mystery Set creations for the first time. The display case on the Maison’s stand showcased two emblematic pieces which are now preserved in the patrimonial collection: theChrysanthemum clip and the Peony double clip. While the former stands out for the dynamism of its ruby petals in Mystery Set — a total of 835 gems (140 carats) — and its volutes made up of 111 diamonds (10.89 carats), the second is remarkable for the delicacy of its execution.

Chrysanthemum clip, 1937
Platinum, yellow gold, Mystery Set rubies, diamonds Van Cleef & Arpels Collection 

Originally composed of one closed flower and another open one,to be worn together or separately, the Peony clip brings together an impressive ensemble of 700 rubies (100 carats), 43 baguette-cut diamonds and 196 round diamonds. The Figaro magazine of the day praised this “new conception” which endows each jewel with “a unique personality and seems to have been made for the grain of a skin, the grace of a gesture, the charm of an expression. Characterized by refinement and color, it offers a clear illustration of what an alliance between stylized art and technical genius has to offer.” Reactions were so enthusiastic that after the event, the Peony double clip was acquired by Mahmoud Fakhry Pacha, the Egyptian Ambassador to Paris and Minister of Foreign Affairs, on behalf of  H.R.H.  Princess  Faiza of Egypt, sister of His Majesty King Farouk.


From top to bottom:Peony clip, 1937Platinum, yellow gold, Mystery Set rubies, rubies, diamondsVan Cleef & Arpels CollectionAdvertising for Van Cleef & Arpels’ participation at the 1937 Exhibition Van Cleef & Arpels Archives Evolutions of style

Encouraged by these favorable first reactions, the Maison soon madethe Mystery Set one of its signatures: a technique embodying its excellence. To spread the word about this expertise, numerous advertisements sang the praises of jewels of “surprising novelty.” Throughout the following decades, a unique precious, aestheticand technical repertoire was created, and then progressively enriched. The Mystery Set creations produced to date bear witness to the development and assertion of the Van Cleef & Arpels style, but also to the stylistic upheavals that marked the jewelry creation of the 20th century.

Vogue France, January 1937, p. 53Van Cleef & Arpels Archives